Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

STD คืออะไร ตรวจได้ที่ไหน มีการรักษา ป้องกันอย่างไร เรื่องที่ต้องรู้ !

STD หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร

STD หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร

การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD ย่อมาจาก Sexually Transmitted Disease ซึ่งมักตรวจพบได้ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งวันนี้ในประเทศไทยมีจำนวนคนที่ได้รับเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบบไม่รู้ตัว และไม่เคยไปตรวจมาก่อนเป็นแสนราย โดยเฉพาะในวัยรุ่น วัยทำงานที่มีความคึกคะนอง ไม่ชอบการป้องกัน รวมถึงนิยมเปลี่ยนคู่นอนอยู่บ่อยๆ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง โดยมีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อยๆ ประมาณ 15-16 ปี เลยทีเดียวอันสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

STD คืออะไร

STD คืออะไร

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรค STD (Sexually Transmitted Diseases) หมายถึงโรคที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจเรียกว่า กามโรค (Venereal disease) หรือ “วีดี” สามารถติดต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก กับผู้ที่มีเชื้อ ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นสามารถติดต่อได้จากการ สัมผัสสารคัดหลั่ง การติดต่อทางเลือด เป็นต้น บางชนิดสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ บางชนิดก็สามารถแพร่ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน การใช้สิ่งของที่สัมผัสเลือด มูก หรือของเหลวของผู้ป่วยที่มีเชื้อ

STD เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อ

  1. แบคทีเรีย สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น หนองใน, หนองในเทียม, ซิฟิลิส, กามโรคของต่อมนํ้าเหลือง, แผลริมอ่อน
  2. เชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดไม่มียารักษา และบางชนิดยังสามารถฝังตัวอยู่ และกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เช่น หูดข้าวสุก, หูดหงอนไก่, เริม, ไวรัสตับอักเสบ, เอชพีวี
  3. เชื้อปรสิต เช่น โลน, หิด,พยาธิช่องคลอด
  4. เชื้อรา เช่น เชื้อราในช่องคลอด โดยโรคที่พบได้บ่อยๆ คือ หนองในเทียม,หนองในแท้,โรคเริม,ซิฟิลิส ,เอชไอวีหรือ เอดส์ (AIDS) ปัจจุบันยังหมายรวมไปถึงโรคตับอักเสบบี โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวีอีกด้วย

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ ได้ที่นี่

ตรวจ STD ได้ที่ไหน

โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ หากไม่มีอาการผิดปกติ ทางเดียวที่จะรู้ได้คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์ (STD Test) ซึ่งโรคเหล่านี้จำเป็นจะต้องรักษาเฉพาะทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำได้ ณ โรงพยาบาลทุกแห่งทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งหากใครที่ไม่สะดวกไปตรวจที่โรงพยาบาล สำหรับประเทศไทยก็มีคลินิกหลายแห่งที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์

หากเป็นภายในกรุงเทพ ก็มี Std test Bangkok ที่ Bangkok Safe Clinic คอยให้บริการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รับทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยสิ่งที่สำคัญคืออย่ากลัว อย่าอาย เมื่อตกอยู่ในความเสี่ยงควรรีบไปพบแพทย์ หรือเมื่อมีความผิดปกติโดยเฉพาะที่อวัยวะเพศ เพราะถ้าตรวจพบเร็ว ก็จะทําให้ผลการรักษาดี โอกาสรักษาหายได้ ลดการแพร่กระจายของโรคจากผู้ป่วยไปสู่คนอื่น สำหรับค่าตรวจ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล สามารถดูคลินิกที่ให้บริการ std test ในกรุงเทพ เพิ่มเติมได้ที่ cleverthai.com

ทำไมต้องตรวจ STD

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังรวมไปถึงตรวจในโอกาสก่อนแต่งงาน หรือก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดการแพร่กระจ่าย นอกจาก ความน่ากลัวของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคบางโรคไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะผู้หญิง เช่น เชื้อเอชไอวี ซึ่งกว่าผู้ติดเชื้อจะทราบอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงที่ยากต่อการดูแลรักษา อีกทั้งโรคติดต่อบางโรคยังเป็นสาเหตุโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากทวารหนัก เกิดจากการติดเชื้อหูดบางสายพันธ์ และมะเร็ง ตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ดังนั้นเมื่อมีความเสี่ยง และมีอาการแสดงบางชนิด เช่น เจ็บปวดอวัยวะเพศ คัน มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ เป็นฝี มีน้ำหนองไหล และในกรณีผู้หญิงหากมีตกขาวสีเหลือง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ก็ควรงดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และควรรีบพบแพทย์

ใครที่ต้องตรวจ STD

ใครที่ต้องตรวจ STD

ผู้ที่มีความเสี่ยง ที่ควรเข้ารับการตรวจ STD Test มีดังนี้

  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • ไม่สวมถุงยางอนามัย และมีเพศสัมพันธ์บนความเสี่ยง
  • เพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังมีอายุน้อย
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ (มีคู่นอนมากกว่า 1คน ใน 3 เดือนที่ผ่านมา)
  • เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายขายบริการทางเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับเพศ หรือการสัมผัสทางเพศกับหลายๆคน 
  • ถุงยางอนามัยรั่ว ถุงยางอนามัยแตก หลุด ฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่กำลังวางแผนจะแต่งงาน หรือมีบุตร ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นกัน
    เพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คู่รักและลูก
STD ติดต่อได้อย่างไร

STD ติดต่อได้อย่างไร

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD สามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดว่าการทํา Oral sex จะไม่ส่งผลให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่ความจริงแล้ว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ติดต่อทาง Oral sex ได้เช่นกัน เช่น หนองใน,หนองในเทียม,ซิฟิลิส, เริม,หูดหงอนไก่ เป็นต้น เรียกได้ว่าไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก กับผู้ที่กำลังมีเชื้อ ก็มีความเสี่ยงต่อการติดโรคได้เช่นกัน

การป้องกันโรค STD

วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ คือ ใส่ถุงยางอนามัย หากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พาตัวเองไปอยู่จุดที่มีความเสี่ยง เช่น ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย จะยิ่งเพิ่มมีโอกาสการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้สูงขึ้น ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จนขาดสติ

ซึ่งอาจทำให้มีพฤติกรรมที่เสี่ยงติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่าย รวมถึงตรวจโรคเป็นประจำทุกปี เพื่อหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการใด ๆ โดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน ควรศึกษาให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรอง และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยให้สังเกตอาการของโรคและป้องกันตัวเองได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี เพื่อความสุขของครอบครัวในอนาคต

 

เรียกได้ว่า การสวมใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD ) และการใส่ถุงยางไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างที่คิด อย่าคิดว่าไม่จำเป็น สิ้นเปลือง และยุ่งยาก เพราะหากได้รับเชื้อมาแล้วการดูแลและรักษา ยุงยากและอันตรายกว่าที่คิด หรือหากมีความเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ขอแนะนำให้เจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง และลดโอกาสการแพร่เชื้อของโรคได้

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า