Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

โรคเอดส์ และเชื้อ hiv คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

โรคเอดส์-และเชื้อ-hiv-คืออะไร-สาเหตุ-อาการ-การรักษา-การป้องกัน

โรคเอดส์

ถ้าจะให้พูดถึงหนึ่งในโรคที่คนกลัวรองมาจากมะเร็ง โรคหัวใจ เห็นทีคงจะเป็น โรคเอดส์ ( Acquired Immune Deficiency Syndrome ) ที่เป็นอาการระยะสุดท้ายของ HIV นี่แหละค่ะ อย่าว่าแต่จะเป็นเลย เพียงแค่ได้ยินชื่อก็เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนคงจะกลัวกันเสียแล้ว ต่างคนก็ต่างคิดไปสารพัด บ้างก็กลัวจนหัวหด บ้างก็รังเกียจเหมือนเขาไม่ใช่คน “ คนนั้นเป็นเอดส์นะ อย่าเข้าไปใกล้เชียว เดี๋ยวจะติดโรคเอาได้ ” ถ้าเป็นเมื่อก่อนใครที่มีความคิดแบบนี้ก็คงจะไม่ผิด เพราะเขายังขาดความรู้ ความเข้าใจของโรค

แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นได้พัฒนาและก้าวหน้าไปไกล ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยาต้านไวรัส เครื่องมือ วัคซีน ฯลฯ เพราะฉะนั้นถ้าใครที่มีความคิดในด้านลบเกี่ยวกับโรคเอดส์แบบล้าหลังอยู่ ก็ขอให้กลบความคิดนั้นฝังลงดินแล้วมาเริ่มต้นปลูกความคิดแบบใหม่ในบทความนี้ กันเถอะค่ะ

ถ้าพร้อมแล้วเราก็ไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ตั้งแต่ โรคเอดส์ คืออะไร มีกี่ระยะ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา วิธีป้องกัน ไปพร้อม ๆ กันเลย

โรคเอดส์-คืออะไร
โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร

โรคเอดส์ คืออะไร

โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) เป็นระยะการป่วยขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสที่เรารู้จักกันดีนั่นก็คือ HIV ซึ่งเชื้อไวรัสเอชไอวีนี่แหละค่ะที่เป็นตัวทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานให้บกพร่อง อ่อนแอ หมดเรี่ยวแรงในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค จนเป็นเหตุให้ร่างกายของเราอ่อนแอและเจ็บป่วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อไวรัส ทำให้ผู้ติดเชื้อที่ทานยาอย่างสม่ำเสมอทุกวันมีอายุยืนยาวเท่ากับคนที่ไม่ติดเชื้อเลย ดังนั้นก็ไม่ต้องกังวลหรือกลัวไปนะคะ

ถือว่าเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และถ้าหากอยากรู้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร มีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : STD หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร มีอะไรบ้าง

อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยกันมากนั่นก็คือ โรคเอดส์มาจากที่ไหน มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงมีโรคนี้เกิดขึ้น คำตอบคือมีต้นกำเนิดการแพร่เชื้อมาจากทวีปแอฟริกา แต่เดิมชื่อของโรคนี้คือ เอสไอวี (Simian Immunodeficiency Virus: SIV) ที่มีการสมมติฐานว่ามาจากลิงชิมแปนซีที่ได้แพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ แต่ ใช่ว่าพอติดเชื้อ HIV ปุ๊ปจะกลายเป็นเอดส์ปั๊ปทันทีทันใดนะคะ โรคนี้มันมีระยะและเวลาในการแพร่เชื้อของมัน จะมีระยะอะไรบ้างไปดูกันเลย

โรคเอดส์มีกี่ระยะ
โรคเอดส์มีกี่ระยะ

โรคเอดส์มีกี่ระยะ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าใครหลาย ๆ คงจะทราบกันดีแล้วใช่ไหมคะว่าเอดส์เป็นอาการระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ถ้าเช่นนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าการเกิดทางของเชื้อเอชไอวี จนกลายมาเป็นเอดส์ ผู้ชาย ผ้หญิง นั้นมีระยะไหนบ้าง ซึ่งหลัก ๆ แล้วระยะของเอดส์จะมีด้วยกัน 3 ระยะ คือ

1. ระยะไม่ปรากฏอาการ

อาการเริ่มต้นของเอดส์ หรือเชื้อ HIV คือระยะไม่ปรากฏอาการ เป็นระยะที่เพิ่งได้รับเชื้อเอชไอวี หากทำการตรวจจะยังไม่สามารถพบเชื้อได้ นั่นหมายความว่าเชื้อยังไม่แสดงอาการนั่นเอง ร่างกายยังแข็งแรงปกติ ไม่มีอาการอ่อนล้าหรือเพลีย แต่จะมีอาการป่วยบ้างเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ปวดหัว แต่หลังจากนั้นอาการก็จะหายไป

2. ระยะแรกเริ่ม

ระยะแรกเริ่มหรือที่เรียกกันว่าระยะปรากฏอาการ คนไข้บางรายอาจจะมีอาการเจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต เกิดฝ้าขาวในช่องปากและในลำคอ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว มีแผลเริมเริ่มลุกลาม เป็นต้น หากมาตรวจในระยะนี้แน่นอนว่าเราสามารถพบเชื้อได้

3. ระยะโรคเอดส์

ระยะโรคเอดส์หรือระยะเอดส์เต็มขั้น ระยะนี้ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่เสียหาย เข้าขั้นวิกฤติ ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อย่างเช่น ติดเชื้อวัณโรค เชื้อรา ไอเป็นเลือด ปวดหัวอย่างรุนแรง ระบบหายใจทำงานผิดปกติจนเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคมะเร็งผิวหนัง เยื้อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น

สำหรับบางคนอาจจะคิดว่าอาการทั้ง 3 ระยะนี้ยังไม่ได้บ่งบอกว่าคนนั้นหรือใครติดเชื้อเอชไอวี อาการเหล่านี้ถ้าไม่ได้บอกว่าเป็นเอดส์ ก็คงจะคิดว่าเป็นอาการป่วยทั่วไป หากถามว่ายังมีอาการอื่นให้เราสังเกตได้หรือไม่ คำตอบคือมีค่ะ อาการทั้ง 3 ระยะนั้นเป็นเพียงอาการที่ทำให้เรารู้ว่าอยู่ในระยะไหนเท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงอาการโดยรวม หรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าเข้าข่ายติดเชื้อนั้นขอบอกว่ามีอาการหรือเอฟเฟคที่เยอะมาก ๆ

อาการของโรคเอดส์
อาการของโรคเอดส์

อาการของโรคเอดส์

อย่างที่เราทราบกันดีว่า อาการโรคเอดส์ ข้างต้นนั้นมักจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตาม ผิวหนัง และยังมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา เช่น

  • มีอาการท้องเสียเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน หรือเหงื่อออกเยอะทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้กำลังหรือออกแรง
  • เหนื่อย เพลียง่ายผิดปกติ
  • มีอาการไข้ สูง-ต่ำ เป็นประจำ
  • น้ำหนักลดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • บริเวณต่อมเหลืองบวมโต
  • บางรายอาจสูญเสียความทรงจำ

อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวที่ได้ยกตัวอย่างมา อาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเอชไอวี

ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการตรวจหาเชื้อนะคะ ใครที่มีอาการดังกล่าวก็อย่าเผลอตีโพยตีพายไปล่ะ เดี๋ยวสุขภาพจิตจะแย่เสียเอาเสียก่อน

ถ้าพูดถึงอาการของโรคเอดส์แล้ว จะไม่พูดถึงสาเหตุของโรคก็คงจะไม่ได้ เพราะมันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการแบบนี้ใช่ไหมล่ะ สำหรับบางคนอาจจะรู้สาเหตุของการเกิดโรคอยู่แล้ว เพราะมันถูกบรรจุลงในหนังสือเรียน

แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ต่อให้จะมีแบบเรียนสักกี่เล่ม ก็ยังมีบางคนที่ยังเชื่อเรื่องสาเหตุการเกิดโรคแบบผิด ๆ ถูก ๆ เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจกันเสียใหม่นะคะ ว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์นั้นเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคเอดส์
สาเหตุของโรคเอดส์

สาเหตุโรคเอดส์

จริง ๆ แล้วปัจจัยการเกิดโรคเอดส์ สาเหตุนั้นมีหลายปัจจัยมาก ๆ แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนติดเชื้อกันมากที่สุดคือ

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีการป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ HIV โดยไม่มีการป้องกันถือว่าเป็นสาเหตุหลักของการแพร่กระจายของโรคนี้
  2. การรับเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง การได้รับเชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งหรือเลือดก็ถือว่าเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เข็มร่วมกัน เช่นการสัก การใช้สารเสพติดจากเข็ม หรือจะเป็นการรับเลือดจากการบริจาคซึ่งสาเหตุนี้อาจจะเกิดขึ้นได้น้อยมากถ้าเทียบกับเมื่อก่อน เพราะสมัยนี้จะมีการตรวจหาเชื้อในเลือดที่รับบริจาคก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง
  3. การติดเชื้อโรคเอดส์จากพันธุกรรม จากแม่สู่ลูก การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเกิดจากแม่เกิดติดเชื้อเอชไอวีขณะที่กำลังตั้งครรภ์ แต่สาเหตุนี้หากคนเป็นแม่มีเชื้อก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะติดเชื้อด้วยนะคะ เพราะในปัจจุบันแพทย์จะจ่ายยาให้รับประทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะติดเชื้อลงได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาต้านไวรัส : ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร มีกี่แบบ ป้องกันได้อย่างไร

เมื่อมีสาเหตุของการเกิดติดเชื้อ ก็ต้องมีแนวทางการป้องกันตามมา คงไม่มีใครอยากจะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคหรอกใช่ไหมคะ หากเป็นเช่นนั้นเราตามไปดูแนวทางการป้องกันโรคเอดส์กันเลย

แนวทางการป้องกันโรคเอดส์
แนวทางการป้องกันโรคเอดส์

แนวทางการป้องกันโรคเอดส์

หากเราไม่อยากให้เกิดโรค ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรทำคือป้องกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันไม่ให้เรารับเชื้อ หรือป้องกันไม่ให้เชื้อจากเราไปแพร่สู่คนอื่น จะมีแนวทางป้องกันอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้ยา PrEP หรือยา PEP ป้องกันการติดเชื้อ
  • งดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
  • ควรตรวจร่างกายเป็นประจำ หรือเลือดก่อนการแต่งงาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

เห็นไหมล่ะคะว่าวิธีป้องกันนั้นไม่ยากเลย ง่ายและประหยัดกว่ารักษาเสียอีกค่ะ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในด่านแรกคือการป้องกันและตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลมนี่แหละ

การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ-hiv
การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ hiv

การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อ HIV

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันมียาที่สามารถใช้ทานเพื่อป้องกันการติด HIV ได้ นั่นคือยาต้านไวรัสที่มีชื่อว่า Pre-Exposure Prophylaxis หรือที่เรียกกันว่ายา PrEP ซึ่งการรับยาต้านไวรัสชนิดนี้เป็นการให้ยาต้านสำหรับคนที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะมีการสัมผัสเชื้อ หากจะพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพของ PrEP แล้วนั้นสามารถเห็นได้มากถึง 99% หากมีการใช้ยาอย่างถูกวิธี ส่วนในเรื่องของผลข้างเคียงในยาต้านไวรัส PrEP เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น อาจจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะได้เล็กน้อยในช่วงแรกของการทานยา อย่างไรก็ตามคนที่ใช้ยา PrEP ก็ควรจะเข้ารับการตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือน

PrEP เหมาะสำหรับใครบ้าง

ก่อนอื่นต้องของบอกก่อนว่า ยาต้านไวรัส หรือ PrEP ชนิดนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน หากใครที่ต้องการใช้ยาต้านไวรัสจะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน ยาชนิดนี้เหมาะสำหรับ

  • คู่นอนมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหลายคนโดยไม่ใช้ถุง
  • ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหนองในแท้ – เทียม, ซิฟิลิส
  • คนที่ทำอาชีพขายบริการ

นอกจากจะมียาต้านไวรัสสำหรับคนที่ป้องกันการติดเชื้อแล้ว ยังมีตัวยาเพื่อลดการเสี่ยงติดเชื้อนั่นคือ post exposure prophylaxis หรือมีชื่อย่อว่า PEP ซึ่งยาชนิดนี้เป็นยาที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังจากที่มีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยต้องทานยาภายใน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน กินเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี

แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ายานี้ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% นะคะ เป็นเพียงยาที่ช่วยลดความเสี่ยงเท่านั้น ซึ่งการจะรับยา PEP ได้นั้นจะต้องทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนเสมอ เพราะหากคุณได้รับเชื้อไปแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณาให้คุณเข้าสู่กระบวนการรักษา HIV ต่อไป ซึ่งจะต้องมีการส่งเลือดไปตรวจเพิ่มเติม และยาที่จ่ายก็จะแตกต่างออกไป

PEP เหมาะสำหรับใครบ้าง

เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นยาที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และใช้ได้สำหรับคนที่สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 3 วัน  เช่น

  • คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ขณะร่วมเพศถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาด
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

อย่างไรก็ตามการใช้ ยา PEP เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น หากจะให้ปลอดภัยและลดความ เสี่ยงของการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการป้องกันอย่างถูกวิธีนะคะ

การวินิจฉัยโรคเอดส์

ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือการตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อและระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ร่วมกับการตรวจลักษณะทางคลินิกโดยแพทย์

FAQ โรคเอดส์

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คนคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับ HIV กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ เห็นไหมล่ะว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด เพราะในปัจจุบันนี้การแพทย์ได้มีการพัฒนาไปไกลแบบก้าวกระโดดมาก ๆ เช่นมีการให้ยาต้านไวรัสอย่าง PrEP และ PEP ถึงตอนนี้แล้วเราคงจะเปลี่ยนความคิดที่รังเกียจคนที่ติดเชื้อมาเป็นการให้กำลังใจ หรือให้ความรู้กับคนอื่นเพื่อเป็นการป้องกันดีกว่าค่ะ แบบนี้ดีกว่าเยอะเลย แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราก็ขอรณรงค์ให้ทุกคนรู้จักป้องกัน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนร่วมเพศ ช่วยกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า