Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

PrEP (เพร็พ) ยาป้องกันต้านเชื้อ hiv และ โรคเอดส์ คืออะไร ราคาเท่าไหร่

PrEP

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในยุคปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากบางคนมองเรื่องของการเปลี่ยนคู่นอนเป็นเรื่องสนุก จึงทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี ได้ง่ายๆ  แต่ถึงแม้ปัจจุบันจะมี PrEP  หรือ ยาต้านเชื้อ HIV ที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ทั้งก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ อย่างที่เราเรียกว่า ยา PrEP แต่การป้องกันและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม

PrEP-คืออะไร

ยา PrEP (เพร็พ)

ยา PrEP ย่อมาจาก ​Pre-exposure prophylaxis คือ สูตรยาต้านไวรัสที่ให้กับผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ HIV แต่มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ HIV เช่น มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีการใช้สารเสพติดชนิดฉีดโดยการใช้ยา PrEP นั้นมีการศึกษาแล้วว่าสามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้จริง หากมีการรับประทานอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่ง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

PrEP-ป้องกันการติดเชื้อไวรัส-HIV-ได้กี่เปอร์เซ็นต์

ยา PrEP สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์

จากการศึกษาพบว่าการใช้ ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 % ส่วนในกรณีของผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้ถึง 70%

อย่างไรก็ตามการใช้ยา PrEP  ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ถึง 100 % และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคอื่นๆ ได้

ใครควรรับยา-PrEP

ดังนั้นถึงแม้ว่าจะกินยา PrEP แล้วก็ควรต้องใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เสมอ

ใครควรจะใช้ยา PrEP

PrEP ใช้ได้กับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV เช่นผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีปาร์ตี้เป็นประจำ  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทราบว่าคู่นอนของตนมีเชื้อ HIV อยู่แล้ว ส่วนในผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร แต่ยังมีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV ก็สามารถใช้ยา PrEP ได้ อย่างปลอดภัยภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์

ทำไมถึงต้องกิน ยา PrEP

ประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ HIV ในปีพ.ศ. 2561 ที่ยังมีชีวิตอยู่ 77,034 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 2,086 คน ซึ่งในความเป็นจริงยังมีผู้ติดเชื้อ HIV อีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ ในเมื่อเพศสัมพันธ์คือเรื่องปกติของมนุษย์เราทุกคน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทุกคนก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV นั่นเอง
ส่วนจะมากหรือจะน้อย นั้นก็ขึ้นกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ดังนั้นสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV สูง การใช้ยา PrEP สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อ HIV ได้อย่างมีนัยสำคัญหากมีใช้ยาอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่ง

ยา-PEP-และ-ยา-PrEP-ต่างกันอย่างไร

PrEP กับ PEP แตกต่างกันอย่างไร

PrEP กับ PEP  เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เหมือนกัน

  • PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในกรณีฉุกเฉิน ที่จำเป็นต้องรับประทานทันที หรือให้เร็วที่สุดหลังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง รับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน
  • ยาPrEP เป็นการป้องกันตั้งแต่เนินๆ

อ่านเพิ่มเติม : PEP ยาต้านไวรัส hiv แบบฉุกเฉิน คืออะไร แตกต่างกับ PrEP อย่างไร

เริ่มกินยา-PrEP-ต้องทำอย่างไร

เข้าใจง่ายๆ คือ PrEP ป้องกันก่อนเสี่ยง ส่วน  PEP เสี่ยงแบบฉุกเฉิน

จะเริ่มกินยา  PrEP ต้องทำอย่างไร

การรับยา PrEP ต้องได้รับผ่านสถานพยาบาลเท่านั้น ก่อนรับยา PrEP จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อเช็คสุขภาพโดยรวม รวมทั้งตรวจเช็คผล HIV ของผู้ที่จะรับยาด้วย เนื่องจากยา PrEP จะใช้กับผู้ที่มีผล HIV เป็นลบเท่านั้น โดยสถานพยาบาลจะจ่ายยา PrEP ให้ไปทานไม่เกิน 3 เดือน หากจะรับยาเพิ่มต้องมีการกลับมาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ใหม่ทุกครั้งก่อนรับยา

ยา-PrEP-ราคาเท่าไหร่

ยา PrEP ราคาเท่าไหร่

รายการ ราคา PrEP
PrEP (30 tablets) 1,000 – 3,200 บาท
PrEP lab test 2,000 บาท

คำถาม-ยา-PrEP-ที่พบบ่อย

PrEP คือวัคซีนหรือไม่

PrEP ไม่ใช่วัคซีน วัคซีนคือสารที่กระตุ้นร่างกายให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นๆได้เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง ส่วน PrEP เมื่อมีการกินอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 วันยาจะสามารถป้องกันเชื้อ HIV ไม่ให้เข้าไปเกาะกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของเราได้

ยา PrEP มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ปลอดภัยไหม

ยา PrEP มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงโดยปกติที่พบบ่อยช่วงแรกของการกินยาคืออาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลียบ้าง แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นหลังกินยาไปได้ประมาณ  1 สัปดาห์

PrEP ต้องกินนานแค่ไหน และกินอย่างไร

การกิน PrEP ที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นควรต้องกินต่อเนื่องอย่างน้อง 7 วันก่อนที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV และกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันและเมื่อจะหยุดกินยาให้หยุดกินหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 4 สัปดาห์

ต้องทานยาเพร็พ ( PrEP ) ไปตลอดชีวิตหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องกินตลอดชีวิต สามารถหยุดกินได้  โดยสามารถหยุดกินยาหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 4 สัปดาห์ แล้วสามารถกลับมากินใหม่ได้หากต้องการ

หากกิน PrEP แล้วไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้ไหม

ถึงแม้ ยา PrEP จะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ได้จริงแต่ก็ไม่ถึง 100% และยา PrEP เองก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคชนิดอื่นๆได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่เราไม่ทราบ HIV status ของคนคนนั้น ควรมีการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ

PrEP คือวัคซีนหรือไม่

ยา PrEP ไม่ใช่วัคซีน ที่สามารถฉีดเข้าไปร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ

ได้ ยา PrEP เป็นเพียงยาต้านเชื้อ HIV เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อHIV ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการยา PrEP คล้ายกับการกินยาคุม คือ กินยาทุกวันจนมีระดับยาสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อฯ

อยากตั้งครรภ์สามารถใช้ PrEP ได้มั้ย

หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ สามารถกินยา PrEP ได้ และไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ สามารถมีบุตรได้ตามปกติ

ลืมทานยา PrEP ทำอย่างไร

ในกรณีที่ลืมรับประทานกินยา หรือรับประทานยาไม่ตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง สามารถ รัประทานห่างกันได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง หากลืมเมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่หากลืมเกิน 7 วัน ให้เริ่มนับ 1 ใหม่

ยา PrEP มีความสามารถในการเป็นยาต้านเชื้อ HIV ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ 100 % สิ่งสำคัญที่สุดในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV คือ การป้องกัน และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรให้ความสำคัญกับการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ร่วมกับการใช้ยาป้องกัน HIV หรือ PrEP

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า