Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ?

ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ?

PEP

หากเราจะพูดถึงเชื้อไวรัส HIV หลายคนคงจะพอรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับยาต้านฉุกเฉิน อย่าง ยา PEP หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าคืออะไร เพราะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และรู้จักไม่แพร่หลายมากนัก ทั้งที่เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดี ในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน แสดง
ยา PEP คืออะไร
ยา PEP คืออะไร

ยา PEP คืออะไร ?

ยา PEP ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นการนำยาต้านไวรัสมาจ่ายให้คนที่เพิ่งจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ให้กินภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็น ถูกข่มขืน พลาดไปมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าโดยไม่ได้ใส่ถุง หรือแม้แต่การถูกเข็มตำหรือของมีคมบาดในสถานพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HIV โดยจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอไปเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์หลังจากมีความเสี่ยง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ยา PEP ประกอบด้วยยาชนิดไหนบ้าง

PEP ประกอบด้วยยาต้านไวรัส 3 ชนิดโดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดให้เป็นรายบุคคลไป จำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาปรับเปลี่ยนสูตรยา PEP ตามความเหมาะสม โดยการเลือกสูตรยาขึ้นกับผลการเลือดคนที่ต้องการรับ ยาอาหารเสริม ยาที่ใช้เป็นประจำ และ ประวัติสุขภาพ การรับยาต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้ง ยา PEP จึงไม่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

สาเหตุที่ต้องรับยา PEP
สาเหตุที่ต้องรับยา PEP

สาเหตุที่ต้องรับยา PEP

PEP เป็นยาต้านฉุกเฉินในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้นเช่น เหตุการณ์ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันแล้วแต่ถุงเกิดหลุด ถุงแตก
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ

การรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )

ผู้ที่จะทานยา PEP ต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อแบบกะทันหัน

  • คนที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศมา
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจจะมีเชื้อเอชไอแล้วถุงหลุดหรือฉีกขาด

เรียกว่ามีไว้สำหรับผู้ที่คาดว่ามีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี แบบไม่ตั้งใจ จำเป็นต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายหลังการสัมผัสเชื้อจากภาวะเสี่ยงต่างๆ

4 ขั้นตอนการรับยา PEP
4 ขั้นตอนการรับยา PEP

จะรับยา PEP  มีขั้นตอนอย่างไร

หากรู้ตัวหรือสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อ HIV มา หลายคนมักไม่กล้าและไม่รู้ว่าจะสามารถ รับยา pep ได้ที่ไหน ให้ทำตามขั้นดังนี้ค่ะ

  • ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  • หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  • เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  • รับยากลับบ้าน

ลองติดต่อสอบถามกับทาง Bangkok Safe Clinic ได้ที่ช่องทางติดต่อ เพื่อขอปรึกษาแพทย์ที่คลินิกสามารถให้บริการแบบนิรนาม สะดวกรวดเร็ว เพราะเรามีแล็ปของเราเอง สะดวกรวดเร็ว ใช้เวลารววมพียง 40 นาทีในการทราบผลเลือด และสามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที

ยา PEP ราคาเท่าไหร่

ยา PEP ขึ้นอยู่กับสูตรยาที่ได้รับ สถานพยาบาล การรับยากับทางโรงพยาบาลรัฐบาลราคาเริ่มต้นอยู่ประมาณ 1,500 บาท แต่การรับยากับคลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่อาจจะได้รับบริการที่รวดเร็วกว่า

ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP
ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP

ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP

  • PrEP คือยาป้องกันก่อนการเสี่ยงในการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV
  • PEP  คือยาฉุกเฉินที่ต้องทานหลังการเสี่ยงการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV ภายในเวลา 72 ชั่วโมง

ทั้ง PrEP กับ PEP ถึงแม้ว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่ก็ยังไม่ 100% ดังนั้น และยาทั้งสองไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ จึงแนะนำว่าให้ใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีความเสี่ยง

อ่านเพิ่มเติม : PrEP ยาป้องกันต้านไวรัส HIV คืออะไร แตกต่างยังไงกับยา PEP

FAQ ยา PEP

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยา PEP คุณหมอขออาสาตอบทุกคำตอบเอง !

ทานยา PEP ครบกำหนดแล้วต้องมาหาหมออีกไหม

เมื่อกินยา PEP ครบแล้ว ต้องพบแพทย์จะตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังผ่านไป 1 เดือน และ 3 เดือน

ยา PEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์

คำถามยอดฮิตที่เชื่อว่าอยู่ในหัวของคนไข้ทุกคนที่จะกิน PEP แน่นอนว่าการใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ HIV หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน

วิธีการที่คนไข้รับเชื้อมาว่ามาจากเพศสัมพันธ์ในลักษณะไหนหรือโดนเข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนมา ระยะเวลาที่เริ่มกินยา PEP (ถึงแม้จะบอกว่าให้ทานภายใน 72 ชั่วโมงแต่ในทางปฏิบัติยิ่งทานเร็วก็จะส่งผลยิ่งดี ) ความสม่ำเสมอในการทานยา ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV ทั้งสิ้น

จากงานวิจัยการเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ที่ใช้ยา PEP รวมถึงโมเดลทดลองในสัตว์ พบว่าการใช้ยา PEP มีประโยชน์สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้จริง บางงานวิจัยให้ผลสรุปว่าการให้ยา PEP ภายใน 24 ชั่วโมงในลิงที่ทดลองฉีดเชื้อ HIV เข้าไป สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 100%

แต่ก็ดังที่กล่าวข้างต้นปัจจัยที่มีผลประสิทธิภาพของยา PEP นั้นมีมากมาย สิ่งสำคัญที่สุดอที่เราสามารถทำได้หลังพบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV แล้วนั้นคือการพบแพทย์เพื่อปรึกษาประเมินความเสี่ยงและรับยา PEP ให้เร็วที่สุดนั่นเอง

ยา PEP ต้องกินนานแค่ไหน

การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง

กินยา PEP ไม่ครบเสี่ยงไหม

จากหลักฐานวิจัยที่มีทำกันมาคือต้องกินให้ครบ 28 วัน ถึงจะป้องกันโรคได้ 80% ดังนั้นการให้ยากินยาไม่ครบย่อมมีความเสี่ยง และนำรับประทานให้ครบตามแพทย์สั่งและเข้ารับการตรวจเช็คตามนัดหมาย

ยา PEP ช่วยรักษาให้หายได้ไหม

ยาต้านไวรัส ไม่ได้ถึงขั้นช่วยให้เชื้อหายเกลี้ยงไปจากร่างกายของเราได้ เนื่องจาก ยาต้านฉุกเฉิน หรือ PEP ไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปจัดการกับต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำไส้ได้หมด เพียงแต่กระบวนการรักษาจะสามารถคุมเชื้อได้

ยาเป๊ปจะช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ร่างกายจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานยาชนิดนี้ จำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือนด้วย

ยา PEP มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง อันตรายไหม ?

ยา PEP มีความปลอดภัยสูง และสูตรยาสมัยใหม่ก็ผลข้างเคียงน้อยกว่าสมัยก่อนมากอย่างไรก็ตามผลข้างเคียงระยะสั้นที่พบได้บ่อยคืออาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลียบ้าง แต่มักจะดีขึ้นหลังทานยาไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนผลข้างเคียงระยะยาวไม่พบในกลุ่มการทดลองเนื่องจากการกินยาต้านเพียง 28 วันไม่เป็นอันตรายใดๆทั้งสิ้น

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ PEP ได้ตลอดไหม

ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

การรป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ ยา PEP อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้ แต่ การลดความเสี่ยงติดเชื้อ HIV คงไม่ใช่แค่ทานยาต้านฉุกเฉิน เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

อย่าปล่อยให้ความสนุกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวทำลายอนาคต และถ้าใครรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงก็ควรหมั่นตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV เป็นประจำ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ก็มีโอกาสต้านเชื้อ HIV ได้เร็วเท่านั้น

มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไร

ระหว่างการกินยา PEP ร่างกายจะสามาระป้องกัน HIV ได้ ดังนั้นถ้ามีเพศสัมพันธ์ระหว่างกินยา PEP 3 สัปดาห์แรก จึงไม่ต้องกินยา PEP เพิ่มอีก แต่กรณที่มีเพศสัมพันธ์ในสับดาห์สุดท้าย ทางผู้รับยาต้องกินยาสูตรต่อเนื่องอีก 1 สัปดาห์

ยา PEP ซื้อได้ที่ไหน

ยา PEP ไม่สามารถซื้อทานเองได้การกินยาทุกครั้งต้องมีการตรวจ HIV, ไวรัสตับอักเสบ, ค่าการทำงานของตับ, ค่าทำงานของไต ก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้รับยา การไม่ตรวจเลือดและกินยาเองเป็นอันตรายต่อตัวเองและคนอื่นอย่างมาก ดังนั้นยา PEP จึงไม่มีขายในร้านขายยาทั่วไป การรับยา PEP จึงมีบริการในสถานพยาบาลเท่านั้น

ระหว่างรับยา PEP ต้องทำอย่างไรบ้าง

ระหว่างรับยา PEP ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ การกินยา PEP บางสูตรอาจต้องงดการกินยา หรืออาหารเสริมบางอย่าง แนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน สังเกตผลข้างเคียง ถ้ามีผลข่างเคียงรุนแรง และไม่หายภายใน 1 สัปดาห์แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ การกินยา PEP ต้องกินให้ตรงเวลาทุกวัน

การรป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ ยา PEP อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้ แต่ การลดความเสี่ยงติดเชื้อ HIV คงไม่ใช่แค่ทานยาต้านฉุกเฉิน เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่าปล่อยให้ความสนุกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวทำลายอนาคต และถ้าใครรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงก็ควรหมั่นตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV เป็นประจำ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ก็มีโอกาสต้านเชื้อ HIV ได้เร็วเท่านั้น

Reference :

  1. Division of HIV Prevention
  2. National Center for HIV, Viral Hepatitis, STD, and TB Prevention
  3. Centers for Disease Control and Prevention
  4. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุข แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกันการติดเชื้อ HIV ประเทศไทยปี 2565/2566
  5. www.hiv.gov/hiv-basics/hiv-prevention/using-hiv-medication-to-reduce-risk/post-exposure-prophylaxis/
  6. www.cdc.gov/hiv/basics/pep/about-pep.html

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า