Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

หนองในเทียมมีอาการยังไง ต่างจากหนองในแท้หรือไม่ รักษาได้ไหม

หนองในเทียมคืออะไร

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) หรือ NSU โดยเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคหนองในแท้ เกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ส่วนใหญ่มักจะพบได้ในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย กลุ่มผู้ใช้บริการทางเพศ หรือกลุ่มคนที่มีรสนิยมไม่ชอบสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

โรคหนองในเทียม หนองในแท้ ต่างกันอย่างไร

โรคหนองในแท้และหนองในเทียม เป็นโรคที่มีอาการแสดงคล้ายคลึงกันหรืออาจจะเกิดร่วมกันได้ แต่มีเชื้อก่อโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)

โรคหนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Neisseria gonorrhea มีระยะการฟักตัวสั้น ประมาณ 1 – 10 วัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการฟักตัวภายใน 5 วัน และเป็นโรคภายใน 7 วัน มีลักษณะของหนองที่ขุ่น และจะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrane เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ, ช่องคลอด, ปากมดลูก และเยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก  เยื่อบุตา ปาก และคอ

  • โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU)

โรคหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis มีระยะการฟักตัวของโรคนานกว่าโรคหนองในแท้ นั่นคือ มากกว่า 10 วันขึ้นไป มีลักษณะของหนองทั้งใสและขุ่นได้ และมักเป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคซึ่งไม่ใช่หนองในแท้ 


การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม

การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม

หากแพทย์สงสัยว่า เป็นหนองในเทียม ทางแพทย์จะทำการตรวจด้วยการนำสารคัดหลั่งหรือหนอง ซึ่งเก็บจากปัสสาวะ สารคัดหลั่งจากท่อปัสสาวะเพศชาย หรือสารคัดหลั่งจากปากมดลูกเพศหญิงด้วยการนำไปย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือนำไปเพาะเชื้อโดยจะวินิจฉัยร่วมกับการมีประวัติเสี่ยงทางเพศด้วย โดยการวินิจฉัยจะเสร็จสิ้นภายใน 1 วัน และจะทราบผลหลังการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งประมาณ 7-10 วัน 

ถ้าพบว่าเป็นโรคหนองในเทียม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจพบ urethral Gram stain พบ PMN มากกว่าหรือเท่ากับ ≥ 5 cells/oil field หรือ ตรวจพบ mucopurulent discharge ที่ cervix ในผู้หญิงโดยไม่พบ Gram negative intracellular diplococci จาก cervical Gram stain หรือ Chlamydial test positive ทางแพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการ 


สาเหตุหนองในเทียม

สาเหตุหนองในเทียม

โรคหนองในเทียมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือกามโรค (STI) ที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis (พบประมาณ ร้อยละ 40) และอาจเกิดจากเชื้ออื่นๆ ได้ เช่น Ureaplasma urealyticum, Trichomonas vaginalis โดยมักได้รับเชื้อมาจากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ปาก ทวารหนัก อวัยวะเพศ โดยมีการหลั่งน้ำอสุจิหรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ และเกิดได้ในตำแหน่งของอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง รวมถึงทวารหนักด้วย นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อในรูปแบบการกอด จูบ การใช้ผ้าเช็ดตัว สระว่ายน้ำ ห้องน้ำ แก้วน้ำ จาน และชามร่วมกันได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับระยะอาการของโรคในเพศหญิงและเพศชายจะมีระยะฟักตัวที่แตกต่างกันและขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ โดยเพศชายมักจะพบประมาณ 1- 3 วันหลังได้รับเชื้อ โดยในระยะแรกจะมีหนองข้นหรือเมือกสีขาวขุ่นไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ รอบๆ รูท่อปัสสาวะดูบวมแดง เวลาปัสสาวะจะรู้สึกแสบขัด มีอาการเจ็บคอ คอแห้ง ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว หรือมีไข้ร่วมด้วย และเมื่อเชื้อแพร่กระจายในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จะเริ่มมีอาการปวดบวมอัณฑะได้ การติดเชื้อนี้มีผลต่อการมีบุตรยากในระยะยาวด้วย

ส่วนในเพศหญิงที่ติดเชื้อ มักไม่แสดงอาการมากเหมือนเพศชาย พบประมาณ 10 วันหลังรับเชื้อ โดยเริ่มแรกจะมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด ประจำเดือนผิดปกติ รู้สึกขัดเวลาปัสสาวะ เจ็บที่กระดูกเชิงกรานเวลามีเพศสัมพันธ์ พร้อมเกิดอาการร่วมอื่นๆ เช่น เจ็บคอ คอแห้ง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มีไข้ หากไม่ทำการรักษา เชื้อจะแพร่เข้าระบอวัยวะสืบพันธุ์และลุกลามไปที่มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ จนทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ และเป็นหมันได้เลยทีเดียว


โรคหนองในเทียมผู้ชาย ผู้หญิง ต่างกันอย่างไร

โดยทั่วไประหว่างผู้ชายกับผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในเทียมนี้จะมีอาการต่างกันออกไปด้วยลักษณะทางเพศสภาพ ซึ่งควรจะสังเกตตัวเองว่า มีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่

หนองในเทียมในผู้ชาย ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • มีของเหลวขาวหรือหนอง ไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ 
  • มีอาการปวดแสบร้อน รู้สึกเจ็บ ขณะปัสสาวะ 
  • หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ 
  • มีอาการปวดและบวมบริเวณลูกอัณฑะ 
  • มีอาการระคายเคืองและคันบริเวณท่อปัสสาวะ

แต่ถ้าไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้ เชื้ออาจลุกลามสู่อัณฑะ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหมันได้

หนองในเทียมในผู้หญิง อาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย เช่น

  • มีอาการปวดแสบร้อน รู้สึกเจ็บ ขณะปัสสาวะ 
  • ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวเป็นมูกปนหนอง มีกลิ่นเหม็น 
  • มีอาการแสบเคืองและคันบริเวณรอบอวัยวะเพศ 
  • มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • ปวดท้องน้อย ขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • ผู้ป่วยบางรายปวดท้องช่วงมีประจำเดือนพร้อมกับมีไข้ 
  • ผู้ป่วยบางรายมีเลือดออกช่วงที่ไม่มีประจำเดือน

แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงโดยไม่ทำการรักษาอาจเกิดภาวะมีบุตรยากหรือเป็นหมันจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้

ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อทางทวารหนัก หรือทางปาก อาการที่แสดงก็จะแตกต่างออกไป เช่น มีเลือดหรือหนองไหลออกจากทวารหนัก รู้สึกปวด เจ็บ ที่บริเวณทวารหนัก รวมถึงในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางปากอาจมีไข้ ไอ และรู้สึกเจ็บคอ


หนองในเทียมอันตรายไหม

การเป็นโรคหนองในเทียมจะอันตรายถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ได้ โดยอาจทำให้ต่อมต่างๆ บริเวณท่อปัสสาวะอักเสบ ในผู้ชายอาการอาจลุกลามจนถึงขั้นอัณฑะอักเสบ  มีผื่นขึ้นตามตัว  บางรายอาจปวดข้อ ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ และร้ายแรงที่สุดคือเป็นหมัน 

ส่วนผู้หญิงอาจ ลุกลามจนถึงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและมีอาการอักเสบบริเวณปากมดลูก ส่วนในหญิงที่ตั้งครรภ์อาจทำอันตรายในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งอาจจะติดเชื้อจากมารดาในขณะคลอด ส่งผลทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อที่ตาและปอด ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก จนถึงขั้นแท้งได้ นอกจากนี้การติดหนองในเทียมจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิสได้มากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่าด้วย


วิธีรักษาโรคหนองในเทียม

วิธีรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมจะรักษาได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อ-การแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคหนองในก็จะมีหลายกลุ่ม เช่น 

  • กลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillins) ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
  • กลุ่มยาเตตราไซคลิน (Tetracyclines) ได้แก่ ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) เตตราไซคลิน (Tetracycline)
  • กลุ่มยาแมคโครไลด์ (Macrolides) ได้แก่ อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)

ซึ่งแพทย์จะทำการเลือกใช้และปริมาณยาจะขึ้นอยู่กับตามอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อหนองในเทียมที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และคอ จะสามารถเลือกใช้ยาได้หลายกลุ่ม ในปริมาณยาที่ต่างกัน เช่น ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร 15 นาที นาน 14 วัน, อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) 1 กรัม กินครั้งเดียว ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง เป็นต้น หรือสำหรับใครที่เป็นหนองในเทียมเยื่อบุตาในผู้ใหญ่ สามารถเลือกใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณที่ต่างกัน เช่น อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร นาน 21 วัน, เตตราไซคลิน (Tetracycline) 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร นาน 21 วัน เป็นต้น

นอกจากนี้จะมียาสำหรับรักษาตามกลุ่มช่วงวัย เช่น ​กลุ่มยาสำหรับหนองในเทียมในเด็ก ได้แก่

  • อิริโทรมัยซิน Erythromycin สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยว่า 45 กิโลกรัม 
  • อะซิโธรมัยซิน Azithromycin  สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 45 กิโลกรัม หรือ เด็กอายุน้อยว่า 8 ปี 
  • อะซิโธรมัยซิน Azithromycin สำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป 
  • ดอกซีไซคลิน Doxycycline สำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป​

โดยผู้ป่วยจะมีอาการที่ดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และควรรับประทานยาจนครบตามที่แพทย์สั่ง นอกจากนี้ หากรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม หลังจากนั้น 3 เดือนควรกลับไปตรวจหาเชื้ออีกครั้ง เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการเกิดซ้ำ ร่วมกับการตรวจคัดกรองหาเชื้อในคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์กันภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย


วิธีการป้องกันโรคหนองในเทียม

วิธีการป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับใครที่กังวลว่าจะเป็นโรคหนองในเทียม หรือกลัวว่าจะเป็นซ้ำ แนะนำให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวกลางคืนหรือสำส่อนทางเพศ ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมทางเพศ หรือ Sex toy ร่วมกับผู้อื่น หรือถ้าจะหลับนอนกับคนอื่นควรจะสวมถุงยางอนามัยเสมอ เพื่อป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ที่อาจติดต่อมาได้
  • แนะนำให้มีคู่นอนเพียงคนเดียว และพาคู่นอนไปตรวจโรคด้วย เพื่อยืนยันว่า ทั้งคู่ปลอดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีร่วมด้วยก็จะช่วยป้องกันโรคหนองในเทียมได้ด้วย
  • ควรดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศเสร็จ หรือทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังการร่วมเพศ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อลง แต่วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกคน
  • สำหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคหนองในเทียม เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีคู่นอนคนใหม่ หรือมีคู่นอนในช่วงเวลาเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคหนองในเทียมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีเพื่อความมั่นใจ และอาจจะตรวจมากกว่า 1 ครั้งต่อปีในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือตรวจตามคำแนะนำของแพทย์
  • หากเป็นไปได้ ไม่แนะนำให้สวนล้างภายในร่างกายผ่านอวัยวะเพศ โดยเฉพาะผู้หญิง เพราะการสวนล้างจะทำให้แบคทีเรียดีที่คอยดูแลช่องคลอดลดจำนวนลงจึงเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • หากมีอาการว่ากำลังเป็นโรคหนองในเทียม ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อ และรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ตรวจสุขภาพและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

ทำอย่างไรเมื่อพบว่าตนเองเป็นโรคหนองในเทียม

อาการของโรคหนองในเทียม

หากพบว่ามีอาการของโรคหนองในเทียมควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์แล้วรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์ทันที หากแพทย์ทำการวินิจฉัยว่า ถ้าเป็นโรคหนองใน คุณควรจะพาคู่นอนมารับการรักษาด้วย และให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายดีแล้ว ซึ่งทางแพทย์ก็จะให้รับยาปฏิชีวนะและจะให้คำแนะนำในการรักษาอย่างถูกต้องกับคุณและคู่นอนด้วย


วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหนองในเทียม

ผู้ป่วยโรคหนองในที่อยู่ระหว่างการรักษาเพื่อเป็นการลดเชื้อ และไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น แนะนำให้ทำตามข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ไม่ควรสำเร็จความใคร่หรือมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายดี
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
  • ห้ามใช้ของร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ไม่ควรรีดหนองด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบได้
  • ควรไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้งและดูแลตัวเองตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • รีบพบแพทย์หากมีความผิดปกติ และไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

วิธีการเลือกคลินิกรักษาโรคหนองในเทียมที่ไหนดี

การเลือกคลินิกรักษาโรคหนองในเทียมควรเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือ มีทีมงานที่มีความชำนาญโดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ได้รับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง ซึ่งถ้าหาไม่แน่ใจว่า ควรเข้ารับการรักษาที่ไหน สามารถปรึกษาและทำนัดหมายกับทาง Safe Clinic เพื่อวางแผนการรักษาทันที


หนองในเทียมหายเองได้ไหม

หนองในเทียมหายเองได้ไหม

หากไม่ได้รับการรักษาประมาณ 20-30% อาจหายจากโรคหนองในเทียมได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ และประมาณ 60% จะหายได้เองภายใน 8 สัปดาห์


หนองในเทียมรักษาหายขาดไหม

โรคหนองในสามารถรักษาหายได้ แต่ถ้าหากรักษาจนหายแล้ว ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ดูแลอวัยวะเพศให้สะอาด และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นโรคหนองในซ้ำอีกได้


หนองในเทียมรักษากี่วันหาย

ปกติแล้วโรคหนองในเทียมอาจเป็นเรื้อรังและรักษาให้หายได้ยากกว่าโรคหนองในแท้ เพราะมักตรวจแล้วไม่พบเชื้อ แต่ถ้าหากเจอเชื้อแล้ว จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ภายใน 14 วัน ถ้าหากทำการรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า