การติดเชื้อ HIV ซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทยเพราะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังคงต้องกินยาตลอดชีวิต ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละ 1095 คน โดยจะพบการติดเชื้อสูงในกลุ่มประชากรชายรักชาย กลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และกลุ่มประชากรชายหญิงตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยมีวีธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ถุงยางอนามัย การรับยาต้านการติดเชื้อเชื้อ HIV หลังการสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง PEP (Post-exposure prophylaxis) ยาต้าน HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ PrEP (Pre-exposure prophylaxis) โดยปัจจุบันเรามีทางเลือกใหม่เพิ่มเติมให้สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ชอบทานยา และผู้ที่ลืมทานยาบ่อย ๆ โดยการใช้ยา PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP)
PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) คือ การฉีดยาต้านก่อนสัมผัสเชื้อ HIV ซึ่งในปัจจุบันปัจจุบันกระทรวงสาธรณสุขประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Apretude โดยทั่วไปเราอาจจะรู้จักกันในชื่อเรียกอีกอย่างนึงว่า CAB PrEP หรือ CAB-LA PrEP ย่อมาจาก Cabotegravir Long-acting Pre-exposure prophylaxis เป็นตัวยาในกลุ่ม Integrase inhibitors (INIs) ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสชนิดออกฤทธิ์นานแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงกว่าใช้ยา PrEP แบบทาน มากว่า 79% ตามงานวิจัย และสามารถใช้ได้ทุกเพศโดยที่ไม่ต้องปรับขนาดยาตามเพศหรือน้ำหนักตัว
ยา Cabotegravir จะค่อย ๆ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแบบช้า ๆ ตั้งแต่เริ่มฉีด และระดับยาจะค่อย ๆ เพิ่มในกระแสเลือดให้สูงสุดภายใน 7 วัน ช่วยในการยับยั้งการสร้างเอมไซม์ของ HIV ในร่างกายมนุษย์ ไม่ให้ตัวไวรัส HIV เพิ่มจำนวนและแพร่เชื้อ อีกทั้งตัวยายังคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 52 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ปกติ คือ ปวด บวม แดง มีไข้ และคัน บริเวณตำแหน่งที่ฉีดยา ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ฝันผิดปกติ
อยากรับยา PrEP แบบฉีดจำเป็นต้องเข้ารับปรึกษากับแพทย์ และตรวจเลือดคัดกรองการก่อนรับยา ซึ่งจำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อ HIV เพื่อยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อมาก่อน ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ เพราะหากมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อนจะส่งผลต่อการตรวจ HIV ทำให้เป็นผลลบปลอมได้ และที่สำคัญต้องตรวจการทำงานของไตก่อนการรับยาเนื่องจากการใช้ยานั้นมีผลต่อการทำงานของไต
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากมีการทานยารักษาโรคประจำตัว อาหารเสริม การแพ้ยาและอาหาร
ข้อดีของการใช้ยา PrEP แบบฉีดมีประสิทธิในการป้องกันได้การติดเชื้อ HIV ได้มากกว่าการใช้ยา PrEP แบบทาน ไม่มีความยุ่งยากเพียงแค่เราเข้ารับการฉีดตามนัดหมาย ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าเราจะลืมทานยาหรือไม่ เหมาะสำหรับผู้ที่ทานยายาก ไม่ชอบทานยาเม็ดทุก ๆ วัน หรือผู้ไม่สะดวกพกยาติดตัวถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อเราต้องเดินทางท่องเที่ยวหรือทำงานต่างประเทศ
ข้อเสียของการใช้ยา PrEP แบบฉีด คือราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใช้ยา PrEP แบบทาน เนื่องจากมีการต้นทุนการผลิตและการวิจัยที่สูงกว่านั่นเอง ไม่สามารถใช้ยานี้ได้ในผู้ที่มีประวัติโรคลมชัก และอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดยาคือ อาการปวดบริเวณที่ฉีดซึ่งระยะเวลาอาการปวดก็ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล
ในปัจจุบันมีการเข้าถึงการใช้ยาต้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะได้รับอนุญาตให้มีการใช้ยา PrEP (pre-exposure prophylaxis) และ PEP (post-exposure prophylaxis) มีเพียงแค่ 79 ประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้การใช้ยา CAB-LA PrEP หรือ PrEP แบบฉีด นั้นก็มีเพียงแค่ 57 ประเทศที่ได้รับอนุญาตให้มีการใช้ยา PrEP แบบฉีด ได้แก่
Australia, Botswana, Brazil, Canada, China, the European Union, Malawi, Malaysia, Mozambique, Nigeria, Peru, the Philippines, South Africa, Tanzania, Thailand, Uganda, United Kingdom, United States, Zambia and Zimbabwe ฯลฯ
สามารถสืบค้นข้อมูลต่อได้ที่เว็บไชต์ prepwatch.org/data-by-country/
อย่างที่เราทราบกันดีว่ายาต้านป้องกันก่อนสัมผัสการติดเชื้อ HIV PrEP แบบฉีด นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใช้ยา PrEP แบบกินแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นประสิทธิภาพในการป้องกันก็สูงกว่าการใช้ยาต้าน HIV แบบทานอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา