Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ตรวจ HIV จำเป็นหรือไม่ ถ้าต้องตรวจควรไปที่ไหนดี [บทความนี้มีคำตอบ]

ตรวจ HIV

ตรวจ HIV จำเป็นแค่ไหน

การตรวจ HIV เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการจะรู้ตัวว่าติดเชื้อหรือไม่นั้น จะต้องอาศัยการตรวจหาเชื้อ HIV เพียงอย่างเดียว ซึ่งคนไทยจำนวนมากที่เข้าใจว่า ร่างกายแข็งแรงอยู่ไม่จำเป็นจะต้องทำการตรวจหาเชื้อ HIV ทั้งๆ ที่เคยมีโอกาสติดเชื้อ หรือเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ได้รับเชื้อ HIV มาได้ ซึ่งถ้าหากนิ่งนอนใจอาจทำให้เชื้อ HIV รุนแรงมากขึ้น และจะกลายเป็นโรคที่ทำการรักษาได้ยากหรือไม่ทันการณ์ได้ 

ดังนั้น หากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV แนะนำให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อจะดีที่สุด หรือถ้ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงอยู่แล้วควรที่จะตรวจบ่อยๆ เช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงควรชวนคู่นอนของตัวเองเข้ารับการตรวจหาเชื้อร่วมด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่ิอป้องกันการแพร่ระบาดของ HIV และทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายไปแล้วนั่นเอง


ใครบ้างควรตรวจ HIV

ใครบ้างควรตรวจ HIV
  1. ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้อ HIV หรือไม่ จากพฤติกรรมเสี่ยงด้านเรื่องเพศ 
  2. ผู้ที่ต้องการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ (ใช้ในบางประเทศ) จึงต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย
  3. ผู้ที่วางแผนจะมีครอบครัว หรือต้องการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งแม่และลูก
  4. ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
  5. บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติหน้าที่
  6. ทารกที่ติดเชื้อ HIV จากมารดา
  7. ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาสารเสพติดร่วมกันกับผู้อื่น
  8. ผู้ที่มีอาการป่วย เช่น ป่วยเป็นวัณโรค
  9. ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ตรวจ HIV ด้วยวิธีไหนได้บ้าง

การตรวจแบบ Anti-HIV

การตรวจ HIV แบบ Anti-HIV เป็นการตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV testing) การจากการตรวจเลือด และทำการวินิจฉัยจากการทำงานของระบบภูมิต้านทานภายในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีการต้านทานต่อเชื้อไวรัส HIV ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Testing) 

การตรวจ HIV แบบ NAT (Nucleic Acid Testing) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ตรวจแนท เป็นวิธีการตรวจที่ไวที่สุด ซึ่งสามารถตรวจการติดเชื้อได้ตั้งแต่ 3-7 วันหลังการติดเชื้อ โดยการตรวจด้วยวิธีนี้จะตรวจหาเชื้อจากเลือดเพื่อหาแอนติ-เอชไอวี Anti HIV ซึ่งร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับเชื้อมีข้อดีคือ ช่วยย่นระยะเวลาเพื่อให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ไวขึ้น แม่นยำขึ้น และรวดเร็วกว่าวิธีเดิม ทำให้การรักษาทำได้เร็วมากขึ้นด้วย

การตรวจในรูปแบบ Rapid HIV Test

การตรวจ HIV แบบ Rapid HIV Test เป็นวิธีการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้น โดยใช้เวลารอผลประมาณ 20 นาทีเท่านั้น แต่ถ้าหากผลเป็นบวกก็จะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อทำการยืนยันว่าติดเชื้อจริงๆ ด้วยวิธีการตรวจแบบ Anti-HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อมา

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี เป็นวิธีการตรวจโปรตีนของเชื้อที่ชื่อว่า p24 (HIV p24 antigen testing) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ตรวจการติดเชื้อในระยะแรกที่ผู้ได้รับเชื้อยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) หรือมีระดับแอนติบอดีที่ต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้ โดยสามารถตรวจได้ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 14-15 วัน

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง HIV Self Testing

การตรวจ HIV แบบ HIV Self Testing ด้วยตนเอง โดยในปัจจุบันจะมีวิธีการตรวจทั้งหด 2 แบบ คือ การตรวจด้วยการเจาะเลือดที่นิ้วมือ และการตรวจด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำในช่องปาก


ตรวจ HIV หลังเสี่ยงกี่วัน

ตรวจ HIV หลังเสี่ยงกี่วัน

ควรจะตรวจ HIV หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพราะถ้าหากตรวจเร็วไปก็อาจจะทำให้สรุปผลไม่ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ (inconclusive) หรือถ้าตรวจช้าเกินไป ก็อาจจะทำให้โรคลุกลามจนทำให้การรักษาลำบากมากขึ้นได้ด้วย


ตรวจ HIV ต้องอดอาหารไหม

การที่จะตรวจ HIV จะต้องทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ ซึ่งปกติคนที่จะต้องเจาะเลือดจะเคยชินว่าจะต้องอดข้าว แต่การจะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ไม่จำเป็นต้องอดข้าว และไม่ใช่ว่าจะต้องงดเครื่องดื่มทุกประเภทเหมือนการตรวจเลือดประจำปีที่ทุกคนอาจจะเคยเข้ารับการตรวจ คือ ยังสามารถดื่มน้ำเปล่าได้ แต่ควรจะงดน้ำบ่างอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำหวาน หรือน้ำที่มีส่วนผสมอื่นๆ 


การเตรียมตัวก่อนตรวจ HIV

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจ HIV ที่สถานพยาบาล สามารถเตรียมตัวก่อนทำการตรวจหาเชื้อตามคำแนะนำได้ ดังนี้

  1. ควรทบทวนระยะเวลาความเสี่ยงว่า ได้รับความเสี่ยงมากี่วันแล้ว (โดยก่อนการตรวจควรจะอยู่ในระยะความเสี่ยงมาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ หรือประมาณ 14 – 30 วัน)
  2. การตรวจ HIV ไม่จำเป็นต้องงดข้าวหรืองดน้ำ สามารถรับประทานมาได้ตามปกติ
  3. เตรียมใจให้พร้อมสำหรับการฟังผลลัพธ์ของการตรวจ 
  4. เตรียมบัตรประชาชนมาตรวจ HIV ที่สถานพยาบาลที่ต้องการ หลังจากนั้นจะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนจะเริ่มต้นตรวจ HIV ต่อไป

สำหรับผู้ที่ไม่กล้า ไม่สะดวก หรือไม่มีเวลที่จะไปตรวจที่สถานพยาบาล แต่ต้องการทราบผลตรวจ สามารถซื้อชุดตรวจ HIV มาตรวจด้วยตนเองก่อนได้ โดยการตรวจจะรู้ผลได้ใน 10-20 นาที ซึ่งถ้าหากตรวจแล้วไม่พบเชื้อให้ทำการตรวจอีกครั้งในระยะเวลา 3 เดือน ส่วนถ้าหากพบผลเป็นบวกให้เดินทางไปตรวจอีกครั้งที่สถานพยาบาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับคำแนะนำจากแพทย์ และรักษาต่อไป


ขั้นตอนการตรวจ HIV

ขั้นตอนการตรวจ HIV ที่สถานพยาบาล

สำหรับขั้นตอนการตรวจ HIV จากสถานพยาบาล จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • เมื่อมาถึงสถานพยาบาลที่ทำการตรวจ HIV ให้ยื่นบัตรประชาชนแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมแจ้งว่ามาตรวจเชื้อ HIV
  • ผู้เข้ามารับการตรวจจะได้รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุย ประเมินความเสี่ยงจากการซักถาม และมีการเซ็นชื่อในใบยินยอมเพื่อตรวจ HIV ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
  • หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเจาะเลือด เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ซึ่งจะสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการแจ้งผลจะขึ้นอยู่กับนโยบาบหรือข้อกำหนดของสถานพยาบาลนั้นๆ ด้วยว่าเป็นอย่างไร
  • เมื่อผลลัพธ์ออกมาเรียบร้อยจะเข้าสู่กระบวนการฟังผลตรวจเลือด ซึ่งถ้าผลออกมาว่าไม่พบเชื่อ แพทย์จะทำการแนะนำเพื่อการดูแลตนเอง และการวางแผนในการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ถ้าหากพบว่า มีเชื้อ HIV จะได้รับคำแนะนในการดูแลตนเอง วิธีการรับการรักษา และแพทย์จะทำการตอบคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ HIV เพื่อสร้างความเข้าใจ

ขั้นตอนการตรวจ HIV ด้วยตัวเอง

  • ทำการซื้อชุดตรวจ HIV จากร้านขายยาทั่วไป
  • ให้ทำความสะอาดปลายนิ้วมือด้วยแผ่นแอลกอฮอล์ เช็ดให้สะอาด และรอจนปลายนิ้วมือแห้ง
  • บิดเข็มเจาะเลือดตามลูกศรเปิดฝาเข็มออกและกดเข็มเจาะเลือดลงที่ปลายนิ้วมือ
  • หยดเลือดลงในตลับตรวจบริเวณช่อง S ประมาณ 1 – 2 หยด
  • ใช้หลอด ดูดน้ำยาสำหรับตรวจ หยดลงในตลับตรวจบริเวณช่อง S อีกครั้งจำนวน 4 หยด
  • รอผลประมาณ 15-20 นาที ผลตรวจจะแสดงบริเวณช่อง T | C หากนานกว่านี้แล้วผลตรวจยังไม่แสดงถือว่าการตรวจผิดผลาด

ผลการตรวจ HIV ดูอย่างไร

ผลการตรวจ HIV ดูอย่างไร

วิธีการรายงานผลตรวจ HIV จะมีรายละเอียด มีดังนี้

  • รายงานผลเป็นลบ (anti-HIV negative) เมื่อผลการตรวจโดยชุดตรวจแรกเป็นไม่มีปฏิกิริยา (non-reactive) แปลว่า ไม่มีการติดเชื้อ ผลเป็นลบ 
  • รายงานผลเป็นบวก (anti-HIV positive) เมื่อผลการตรวจทั้ง 3 ชุด ตรวจโดยห้องปฏิบัติการเดียวกันให้ผลมีปฏิกิริยา (reactive) ตรงกัน แปลว่า มีการติดเชื้อ ผลเป็นบวก
  • รายงานผลสรุปผลไม่ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ (inconclusive) อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างตั้งแต่ธรรมชาติและระยะเวลาของการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวี ยังมีปริมาณไม่มากพอ เพึ่งเริ่มสร้าง หรือยังไม่ทันสร้าง ซึ่งในระยะแรกของการติดเชื้ออาจพบแอนติบอดีในระดับต่ำ ต้องอาศัยการตรวจหา HIV genome 

ตรวจ HIV กี่วันเห็นผล

ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวิธีการตรวจที่เลือก เร็วที่สุด คุณสามารถรู้ผลภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 นาที (จากการตรวจแบบ Rapid HIV Test) แต่ถ้าตรวจจากสถานพยาบาลก็ขึ้นกับข้อกำหนดของแต่ละโรงพยาบาลด้วย โดยผู้ที่รับการตรวจจะทราบผลการตรวจจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ซึ่งผลการตรวจจะถูกเก็บเป็นความลับ และผู้รับการตรวจจะได้รับคำแนะนำในการดูและและป้องกันตัวเองจากโรค HIV เพิ่มเติมด้วย


ตรวจ HIV ราคาเท่าไหร่

ราคาการตรวจ HIV จะขึ้นอยู่กับรูปแบบและวิธีการตรวจ รวมถึงสถานพยาบาลที่เลือกตรวจ เช่น

  • ตรวจแบบรู้ผลทันทีจะเริ่มต้นที่ 200 บาท 
  • ตรวจด้วยวิธี PCR เริ่มต้นที่ 1,500 บาท (รู้ผล 1 สัปดาห์) 
  • ตรวจที่โรงพยาบาลเอกชน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 600-1,000 บาท
  • ตรวจด้วยชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง ราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 500 บาท
  • ตรวจที่ LAB ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 500-2,500 บาท ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ
  • ตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง

ตรวจ HIV ที่ไหนดี

โดยปกติแล้วสามารถเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ HIV ฟรีปีละ 2 ครั้งจากโรงพยาบาลรัฐ ศูนย์อนามัย หรือคลินิกที่ร่วมรายการแต่ถ้าหากไม่ต้องดารที่จะรอคิวนาน รอฟังผลนาน ก็สามารถตรวจ HIV ได้ตามโรงพยาบาลเอกชน คลินิกต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน หรือสำหรับใครที่รู้สึกแค่ไม่มั่นใจว่าได้รับความเสี่ยงมาจริงหรือไม่ ก็สามารถเลือกใช้วิธีการซื้อชดตรวจคัดกรอง HIV ด้วยตัวเองมาตรวจก่อนได้ ซึ่งถ้าผลเป็นบวกก็ค่อยเดินทางเข้ารับการตรวจซ้ำอีกรอบ ซึ่งก็จะช่วยลดรยะเวลาในการเข้ารับการตรวจมากขึ้น และถ้าหากผลเป็นบวกจริงก็จะช่วยทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็วมากขึ้นด้วยนั่นเอ

ตรวจ HIV ที่ไหนดีบ้าง

ที่ตรวจ HIV

แนะนำสถานพยาบาลที่สามารถตรวจ HIV ได้ในเขตกรุงเทพมหานคร

  • โรงพยาบาลบางรัก 
  • คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย 
  • คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด 
  • คลินิกพิเศษของศูนย์ดรอปอิน 
  • คลินิกพิเศษฟ้าสีรุ้ง ซอยรามคำแหง 87 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลกลาง 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลตากสิน 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลสิรินธร 
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ 
  • มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร 
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี
  • เซฟ คลินิก (Safe Clinic) สามารถทำการนัดหมายได้ ที่นี่

ตรวจ HIV ต้องไปหาหมอบ่อยแค่ไหน

สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อ HIV ได้เสมอ หรือตรวจเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือถ้าไม่มั่นใจในคู่ของคุณก็ควรตรวจทันที หรือตรวจอย่างน้อยปีละครั้งก็ได้


ตรวจ HIV ด้วยตนเองดีไหม

สำหรับใครที่ไม่สะดวกที่จะไปตรวจ HIV ที่โรงพยาบาล ในปัจจุบันนี้มีชุดตรวจเอชไอวี (HIV) ด้วยตนเองให้เลือกใช้ได้แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV สามารถตรวจหาเชื้อได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งถ้าหากสามารถตรวจเจอเชื้อได้ตั้งแต่เริ่มแรก โดยไม่ปล่อยให้ตัวเองมีอาการหรือพบว่าติดเชื้อ HIV ในระยะที่ทำการรักษาลำบากแล้ว ก็จะมีโอกาสได้รับยาต้านที่ถูกต้อง เหมาะสม และทำให้รักษาอาการได้ดีมากขึ้นด้วย

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า