เมื่อพูดถึงภาวะตับอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะการอักเสบของเซลล์ตับ หลายคนอาจจะรู้จักกับไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และไวรัสตับอักเสบชนิดบีกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อย แต่พอพูดถึงไวรัสตับอักเสบซีอาจจะยังไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร มีอาการแตกต่างจากไวรัสตับอักเสบตัวอื่นอย่างไร รวมถึงจะติดต่อได้จากอะไรบ้าง
บทความนี้ จึงอยากจะมาอธิบายถึงโรคไวรัสตับอักเสบซีว่าคืออะไร พร้อมแนะนำวิธีการรักษาและการป้องกันอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้ป้องกันและจำกัดความเสียหายของตับเพื่อไม่ให้ดำเนินไปจนถึงการเป็นตับแข็ง และลดโอกาสการเกิดมะเร็งตับในอนาคต
Hepatitis C Virus: HCV หรือ โรคไวรัสตับอักเสบซี คือ อาร์เอ็นเอไวรัส (RNA Virus) ซึ่งทำให้ตับเกิดการอักเสบและเสียหายจากการติดเชื้อไวรัส มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ (Genotype) ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1 ถึง 6 โดยสายพันธุ์ที่ 2 และสายพันธุ์ที่ 3 คือ เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อย แต่ก็รักษาง่าย ขณะที่สายพันธุ์ 1 หรือ 6 จะรักษาได้ยากและใช้เวลานานกว่า
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบซีมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นผู้ติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยในระยะแรกของโรคนี้มักจะไม่ไดมีอาการแสดงออกหรือมีอาการที่รุนแรง แต่ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยงก็ควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสอบไวรัสตับอักเสบซีไว้ก่อนก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา ก็อาจจะนำไปสู่การเป็นตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้
ลักษณะของไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ในช่วงแรกอาจไม่แสดงอาการ หรือมีอาการที่ไม่รุนแรง จนทำให้ตัวผู้ติดเชื้ออาจไม่ทราบว่าเกิดการติดเชื้อไปแล้ว แต่เมื่ออาการหนักขึ้นก็จะมีการแสดงอาการออกมาเรื่อยๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ไวรัสตับอักเสบจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการติดต่อและอาการที่เกิด ดังนี้
ชนิดของไวรัสตับอักเสบ | สาเหตุการติดต่อ | อาการ |
ไวรัสตับอักเสบเอ | มักติดต่อผ่านทางการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น อาหาร คนทำอาหาร ฯลฯ หรือติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้ด้วย | บางคนไม่แสดงอาการของโรค แต่หากมีอาการ จะเริ่มมีอาการได้ประมาณ 2-7 สัปดาห์ เช่น ดีซ่าน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นท้องใต้ชายโครงขวา เป็นต้น |
ไวรัสตับอักเสบบี | สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น เพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง, จากแม่สู่ลูก, การสัมผัสกับ เลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งผ่านบาดแผล ฯลฯ | ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อ แต่จะมีอาการบางอย่าง เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตาเหลือง ตัวเหลือง ฯลฯ |
ไวรัสตับอักเสบซี | มักติดต่อทางเลือด สารคัดหลั่ง เพศสัมพันธ์ การรับเลือดที่ไม่ผ่านการคัดกรองตรวจหาเชื้อ หรือการใช้สิ่งของที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อไวรัสร่วมกัน | สำหรับในช่วงแรกที่มีการติดเชื้อ อาจมีอาการน้อยและอาการเหมือนโรคทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ ปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น |
ไวรัสตับอักเสบดี | สามารถติดต่อได้ทางเลือด และกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไวรัสตับอักเสบดี คือ ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี | ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ในกรณีที่ติดเชื้อแบบเรื้อรังร่วมกับไวรัสตับอักเสบบีจะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้เร็วกว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว |
ไวรัสตับอักเสบอี | มักจะได้รับจากการกินอาหารที่ไม่ปรุงสุก เช่น เนื้อหมู หมูป่า หรือสัตว์ปีก รวมถึงติดต่อผ่านทางเลือดได้บ้าง | มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ส่วนใหญ่มักจะหายไปเอง แต่ถ้าผู้ติดเชื้อกำลังตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับรุนแรง |
สาเหตุการเกิดไวรัสตับอักเสบซีมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น
ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อโดยทางเลือดจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น มีประวัติได้รับเลือดจากผู้ติดเชื้อด้วยการผ่าตัด หรือเสียเลือดมาก ในกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มที่เคยใช้ยาเสพติดแบบฉีดหรือหลอดสูบ กลุ่มคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไปจนถึงกลุ่มของคนที่รับบริการสักตามร่างกาย เป็นต้น
อาการของไวรัสตับอักเสบซีจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ไวรัสตับอักเสบซีระยะเฉียบพลันจะเกิดขึ้นใน 6 เดือนที่ได้รับเชื้อ ซึ่งปกติคนทั่วไปจะยังไม่มีอาการแสดงออก แต่ผู้ที่ติดเชื้อประมาณร้อยละ 25-30 อาจมีอาการดีซ่าน เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง
ร้อยละ 80 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จะเป็นภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงออก จนกว่าจะมีอาการตับอักเสบมาก หรือตับถูกทำลายไปสมควร โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร แต่เมื่อเข้าสู่อาการตับแข็งก็จะเริ่มมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง ท้องมาน ขาบวม ผิวดำคล้ำ รู้สึกคันโดยไม่มีแผลหรือผื่น เลือดออกตามไรฟัน ผิวหนังช้ำง่าย สมองมึนงง ซึม สับสน หรือโคม่า หรือถ้าหากเป็นมากๆ ก็อาจเป็นม้ามโต หรือมะเร็งตับได้
ในด้านการวินิจฉัยและการตรวจไวรัสตับอักเสบซีจะทำการวินิจฉัยผ่านการเจาะเลือดเผื่อหาว่า ตับมีอาการอักเสบหรือไม่ ด้วยการตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด (Viral Load) จากน้ำเหลืองในเลือดที่เรียกว่า “แอนติ เอช ซี วี (Anti-HCV) โดยจะต้องรอผลประมาณ 3-7 วัน หากผลยังไม่เจออาจต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์ หรือถ้ามีผลเป็นบวกควรตรวจยืนยันด้วยการตรวจไวรัสโดยตรง
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจโรคที่ตับที่เรียกว่า ไฟโบรสแกน (FibroScan) ซึ่งจะตรวจหาไขมันที่สะสมอยู่ในตับและภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะให้เป็นทางเลือกในการตรวจอีกด้วย โดยวิธีนี้จะไม่เหมือนกับการใช้วิธีการเจาะตับ ซึ่งจะทำให้รู้สึกเจ็บหรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
วิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบซีทางแพทย์จะทำการพิจารณาเกี่ยวกับระยะของโรคและโรครวมๆ ที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งโรครักษาไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้อย่างถาวร ด้วยการรับประทานยาร่วมกับยาฉีด ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการประเมินด้วยแพทย์ก่อนกินยารักษาไวรัสเสมอ ซึ่งระยะเวลาในการรับประทานยาอยู่ในระหว่าง 3-6 เดือน เพื่อที่แพทย์จะช่วยประเมินยารักษาโรคประจำตัวและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของการรักษาให้ด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นตับแข็งควรที่จะทำการอัลตราซาวด์ตับและเจาะเลือดตรวจค่า AFP ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งตับระยะต้น เนื่องจากกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้ถึงแม้ว่าความเสี่ยงจะลดน้อยลงหลังทำการรักษาไวรัสตับอักเสบไปแล้วก็ตาม
การรักษาไวรัสตับอักเสบซีสามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเฉพาะทาง โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน Anti-HCV ที่ให้ความแม่นยำ 92-99% และตรวจยืนยันผลของการเป็นไวรัสตับอักเสบซีโดยใช้ HCV RNA เพื่อดูปริมาณไวรัสซีในเลือด ซึ่งแพทย์จะใช้เพื่อดูแนวโน้มการตอบสนองในระหว่างการรักษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
สำหรับการป้องกันตับอักเสบซีที่มักเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน จึงทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้ แถมยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ดังนั้น ผู้ที่กังวลว่าจะติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบซีจึงควรป้องกันตัวเองให้ดีมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซีโดยตรง (แต่ทั้งนี้ ก็ควรทำการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งมีให้ฉีดได้ในเข็มเดียวเอาไว้ด้วย)
ไวรัสตับอักเสบซีน่ากลัวตรงที่เป็นภัยเงียบที่คุกคามผู้คนโดยไม่รู้ตัว ทำให้มีโอกาสที่ได้รับเชื้อได้ง่าย อีกทั้ง ผู้ที่ทำการรักษาโรคนี้หายแล้วจะไม่ได้มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยจะยังสามารถติดเชื้อใหม่ได้หากรับเชื้อมาอีก (แต่ทั้งนี้ ก็เป็นไวรัสตับอักเสบที่สามารถรักษาให้หายได้หาได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที)
ไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาหายได้ แต่ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและชนิดของไวรัสตับอักเสบซี อย่างเช่น