Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

แผลริมอ่อนคืออะไร เกิดจากอะไร รักษายังไงให้หายดี [ที่นี่มีคำตอบ]

เมื่อพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลายคนจะนึกถึง HIV (เอดส์), เริม, ซิฟิลิส, หนองใน แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกโรคหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักมากนักอย่าง ‘โรคแผลริมอ่อน (Chancroid หรือ Soft chancre)’ ซึ่งเป็นแผลที่เจ็บมาก และเพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดโรคนี้ ในบทความนี้จึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับแผลริมอ่อนว่าคืออะไร สาเหตุการเกิดโรคนี้มีอะไรได้บ้าง หรือถ้าจะรักษาหรือป้องกันจะทำได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูคำตอบพร้อมๆ กันได้เลย

แผลริมอ่อน คืออะไร

Chancroid หรือ โรคแผลริมอ่อน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศและต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตติดกันเป็นพืดและเจ็บ แผลจะมีลักษณะเฉพาะ มักพบหลายๆ แผลพร้อมๆ กัน และแผลจะค่อนข้างเจ็บมาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจึงต้องหาวิธีป้องกันในเวลาที่มีการร่วมเพศ เพื่อไม่ให้เกิดการติดต่อโรคนี้ขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะติดโรคแผลริมอ่อน จะมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือมีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ใช้บริการทางเพศ
  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แถบแคริบเบียนและแอฟริกา
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ทำการสวมถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวาร 
  • ผู้ที่เดินทางหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณสุขไม่สะอาด

แผลริมอ่อน อันตรายไหม

แผลริมอ่อนนั้นจะก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากจะเป็นแผลบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงมีโอกาสเกิดอันตรายหากเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อน เช่น เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสอื่นๆ ได้ง่าย, เสี่ยงเกิดรอยทะลุของท่อปัสสาวะ หรือ Urethral Fistula, ก่อให้เกิดแผลเป็นหรือพังผืดบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย, ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอาจแตกได้หากไม่ได้รักษาโดยเร็วที่สุด, อาจทำให้เป็นแผลดึงรั้งแล้วทำให้หนังหุ้มปลายองคชาตตีบตัน (Phimosis), ในบางรายที่เป็นรุนแรงมีโอกาสทำให้อวัยวะเพศแหว่งหายได้ เป็นต้น

สาเหตุการเกิดแผลริมอ่อน

แผลริมอ่อนเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า Haemophilus ducreyi (ฮีโมฟิลุสดูเครย์) เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ชนิด facultative anaerobe โดยจะมีแผลที่อวัยวะเพศคล้ายกับโรคซิฟิลิส โรคเริม โรคฝีมะม่วง และการติดเชื้อ HIV ซึ่งเชื้อชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่หนอง และจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยถลอกบนผิวหนัง หลังจากนั้นเชื้อจะสร้างสารพิษ (HdCDT) ขึ้นมาทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ และมีหนองไหล สำหรับลักษณะของแผลริมอ่อนจะมีขอบเขตไม่เรียบ ก้นแผลค่อนข้างลึก เซาะออกทางด้านข้าง และสกปรก มักมีอาการเจ็บที่แผลมาก และสามารถทำให้ป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย 

ในด้านการติดต่อสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ ทั้งทางปาก ทวารหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์คู่ชาย-หญิง, หากผิวหนังมีบาดแผลก็สามารถติดต่อได้, การมีเชื้อไปสัมผัสโดนดวงตา เป็นต้น

อาการของแผลริมอ่อน

อาการของแผลริมอ่อนในผู้หญิงและผู้ชายจะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว หรือมีตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร – 5 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางแผลจะมีสีออกเทาหรือเทาอมเหลือง มีลักษณะนิ่ม ขอบแหลม มองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า สำหรับตำแหน่งของแผลจะขึ้นได้ทั่วบริเวณอวัยวะเพศ ถ้าเกิดการเสียดสีหรือสัมผัสกับสิ่งต่างๆ จะเลือดออกได้ง่าย ในบางรายอาจเกิดอาการขาหนีบบวมหรือต่อมน้ำเหลืองโตจนกลายเป็นหนองฝีขนาดใหญ่ได้ และในเวลาที่ทำการปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์จะเจ็บด้วย

แผลริมอ่อนผู้ชายผู้หญิงเหมือนกันไหม

อาการของแผลริมอ่อนในผู้ชายและอาการแผลริมอ่อนในผู้หญิงอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยในผู้ชายจะปรากฏตุ่มแดงขนาดเล็กที่อวัยวะเพศ โดยจะเป็นบริเวณหนังหุ้มปลายองคชาตและถุงอัณฑะส่วนใหญ่ หลังจากนั้นจะกลายเป็นแผลเปิดโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน ส่วนใหญ่จะมีแผลแค่เพียงจุดเดียว และเมื่อแผลเริ่มเปื่อยจะรู้สึกถึงอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างหนัก

สำหรับอาการของแผลริมอ่อนในผู้หญิงมักจะมีตุ่มแดงมากกว่าในฝั่งของผู้ชาย มักพบได้ทั้งในปากมดลูก ไปจนถึงบริเวณแคมเล็กหรือด้านนอกของอวัยวะเพศ อย่างเช่น ต้นขา ขาหนีบ มักมีอาการเจ็บปวดที่น้อยกว่า และถ้าผู้หญิงเป็นแผลริมอ่อนแล้วไม่มีอาการแสดงออกที่ผิดปกติใดๆ ก็มักจะกลายเป็นผู้ที่แพร่เชื้อให้กับคนอื่นต่อได้

แผลริมอ่อนระยะฟักตัว

แผลริมอ่อน (Chancroid) ในระยะฟักตัวมักจะเกิดขึ้นเร็วหลังการมีเพศสัมพันธ์ และได้รับเชื้อประมาณ 4-7 วัน ซึ่งอาจเร็วหรือช้ากว่านี้ก็ได้ตั้งแต่ 3-10 วัน และจะมีอาการเห็นชัดเจนตามมา โดยในผู้ชายจะเห็นตุ่มเล็กๆ สีแดงขึ้นบริเวณอวัยวะเพศก่อนหลังจากนั้นไม่เกิน 48 ชั่วโมงจะเป็นแผลเปื่อย และเริ่มรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมากขึ้น ส่วนในผู้หญิงจะมีตุ่มเล็กๆ สีแดงขึ้น 4 ตุ่มหรือมากกว่านั้นที่บริเวณแคมนอก ต้นขา หรือรูทวาร และภายใน 48 ชั่วโมงจะเริ่มเปื่อย มีอาการปวดแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนปัสสาวะหรืออุจจาระ รวมถึงมีอาการตกขาวที่มีกลิ่นรุนแรงมากกว่าปกติได้ 

การวินิจฉัยและการตรวจโรคแผลริมอ่อน

สำหรับการวินิจฉัยและการตรวจโรคแผลริมอ่อนทางแพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ มีการตรวจร่างกายทั่วไป และทำการตรวจสอบโรคแผลริมอ่อนอย่างละเอียดโดยจะมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ การเก็บตัวอย่างของเหลวจากบริเวณแผลหรือตกขาวของผู้ป่วย เพื่อนำไปวิเคราะห์หาเชื้อแบคทีเรียของโรค, การเพาะเชื้อ (Bacterial culture) และการตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction)

การเก็บตัวอย่างของเหลวจากบริเวณแผลหรือตกขาว และย้อมสีดูเชื้อ (Gram stain)

การเก็บตัวอย่างของเหลวจากบริเวณแผลหรือตกขาว และย้อมสีดูเชื้อ (Gram stain) จะเป็นวิธีที่นิยม เนื่องจากได้ผลเร็ว และราคาถูก โดยแพทย์จะใช้สไลด์แก้ว น้ำยาเล็กน้อย และกล้องจุลทรรศน์ในการตรวจหาเชื้อ แต่ก็ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเก็บตัวอย่างในบางรายอาจได้เชื้อปริมาณที่น้อยทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน หรือถ้าดูแบบผ่านๆ ก็อาจทำให้ไม่เห็นเชื้อแบคทีเรียด้วยเช่นกัน

การเพาะเชื้อ (Bacterial culture) 

การเพาะเชื้อ (Bacterial culture) เป็นวิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งไปเพาะเชื้อแล้วหาว่าเชื้อที่ได้มานั้นมีชนิดไหนบ้าง และมีอาการดื้อยาหรือไม่ แต่วิธีการนี้จะทำได้กับเฉพาะเชื้อที่ตายไปหมดแล้ว หรือป้ายไม่โดนบริเวณที่เชื้อยังมีชีวิตจึงจะได้ผล รวมถึงต้องเก็บเชื้อในสารเพาะเชื้อชนิดจำเพาะอีกด้วย

การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) 

การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) จะเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น โดยวิธีการจะเริ่มจากเก็บชิ้นส่วน DNA ของเชื้อที่อยู่ในช่องคลอด หรือที่บริเวณแผล เพื่อหาชิ้นส่วน DNA ของเชื้อ หลังจากนั้นจะส่งตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) สามารถใช้วิธีนี้ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสได้พร้อมกันหลายชนิด และสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจไว้ได้นานถึง 14 วัน โดยไม่มีผลต่อความแม่นยำของการตรวจ

นอกจากนี้ วิธีการตรวจแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) ยังสามารถตรวจด้วยตนเองที่บ้านได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมตรวจแถวประเทศฝั่งยุโรปและอเมริกา ส่วนในประเทศไทยมีสิทธิ์การรักษาฟรี การตรวจด้วยตนเองอาจจะมีราคาที่สูงกว่าการเข้าพบแพทย์ 

สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่สามารถทำการตรวจโรคแผลริมอ่อนด้วยตนเอง คือ กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ไปพบแพทย์แล้วไม่ได้รับการตรวจแบบละเอียดมากเพียงพอ และมีอาการผิดปกติที่บ่งบอกว่าอาจจะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เป็นผื่น มีตุ้ม เป็นหนอง ฝี หรือเจ็บปวดที่อวัยวะเพศ หรือในกลุ่มที่กำลังจะแต่งงาน และวางแผนมีบุตรก็สามารถตรวจก่อน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรักและบุตรต่อไปได้

แต่สำหรับใครที่มีอาการเป็นแผลเรื้อรังหลายเดือน มีไขสูง หนาวสั่น มีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง เป็นฝีหรือหนองแถวขาหนีบและอวัยวะเพศ รวมถึงคาดว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิกสูตินรีแพทย์จะดีที่สุด

วิธีการรักษาแผลริมอ่อน

วิธีการรักษาแผลริมอ่อนให้หายขาดจะมีหลักๆ อยู่ด้วยกัน 2 วิธีโดยแพทย์จะวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ ดังนี้

  • การผ่าตัด จะรักษาแผลริมอ่อนจะทำก็ต่อเมื่อเกิดแผลลุกลามจากต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นจนกลายเป็นฝีอักเสบและมีแผลขนาดใหญ่ หากคนไข้มีอาการเจ็บปวดมากๆ ให้ใช้วิธีการผ่าตัดหรือใช้เข็มฉีดยา เพื่อลดอาการต่อมน้ำเหลืองบวมและบรรเทาปวดได้ แต่วิธีการรักษานี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นจากการผ่าตัดได้ และจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-3 เดือน
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียออกจากร่างกายและต้านไม่ให้เกิดโรคนี้อีก

นอกจากการรักษาด้วยการกินยาและการผ่าตัดแล้วก็ควรที่จะทำการดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากโรคแผลริมอ่อนได้เร็วมากขึ้น และลดอัตราการเกิดโรคซ้ำ เช่น

  • ทำความสะอาดและล้างอวัยวะเพศบ่อยๆ 
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ รอจนกว่าจะแน่ใจว่าแผลหายและไม่มีการติดเชื้อซ้ำ เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อให้กับคู่นอน นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์ยังทำให้มีอาการเจ็บจากการที่แผลโดนเสียดสี และเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด จนกว่าแผลจะหาย
  • ใช้น้ำเกลือล้างทำความสะอาดบริเวณแผลแล้วเช็ดแผลให้แห้ง

ส่วนใครที่สงสัยว่าตัวเองเป็นซิฟิลิสร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอีกรอบ รวมถึงทำการตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ด้วยวิธี VDRL (Venereal Disease Research Laboratory test) และตรวจหาเชื้อ HIV ด้วย

ยาทาแผลริมอ่อน

สำหรับยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาแผลริมอ่อนมีด้วยหลายชนิด โดยยาที่มักใช้กันนั้นจะเป็น…

  • Azithromycin 1 g orally in a single dose
  • Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose
  • Ciprofloxacin 500 mg orally twice a day for 3 days
  • Erythromycin base 500 mg orally three times a day for 7 days

โดยยาเหล่านี้จะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยบรรเทาอาการบริเวณแผลริมอ่อน รวมถึงลดรอยแผลเป็นให้ดีขึ้นได้ด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของแผลริมอ่อน

ภาวะแทรกซ้อนของแผลริมอ่อนมีได้หลายรูปแบบ เช่น 

  • มีท่อและมีหนองไหลตลอดเวลาติดต่อระหว่างอวัยวะที่ติดโรคหรือเป็นแผล เช่น ช่องคลอดกับทวารหนัก ท่อปัสสาวะ (Urethral Fistula) กับผิวหนัง เป็นต้น
  • ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคเอชไอวี (HIV) ได้ง่ายขึ้น และมีผลพวงจากการเป็นแผลที่มีการติดเชื้อชนิดอื่นๆ ซ้ำได้ง่าย
  • เกิดเป็นแผลเป็น แผลดึงรั้ง และพังผืดบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอาจจะอักเสบจนแตกเป็นหนองไหลออกมา
  • อาจทำให้อวัยวะเพศแหว่งหายได้ หรือที่เรียกกันว่าโรคฮวบ

รักษาแผลริมอ่อนที่ไหนดี

สำหรับทางเลือกในการรักษาแผลริมอ่อนนั้นสามารถรักษาได้ทั้งในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเฉพาะทาง ซึ่งเซฟ คลินิก (Safe Clinic) ก็เป็นคลินิกเฉพาะทางใจกลางกรุงที่ให้บริการด้านสุขภาพทางเพศโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เราพร้อมดูแล รักษาความลับ และให้บริการอย่างรวดเร็วที่สุด สนใจทำนัดหมายได้ที่นี่

การป้องกันแผลริมอ่อน

หลักการป้องกันการเกิดโรคแผลริมอ่อนที่ง่ายที่สุด คือ การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หากพบว่ามีแผลบริเวณอวัยวะเพศควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี นอกจากนี้ ควรใส่ใจในการรักษาความสะอาดและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความมั่นใจทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

แผลริมอ่อนน่ากลัวไหม

แผลริมอ่อนน่ากลัวไหม? คำถามนี้ก็คงต้องตอบว่าน่ากลัว เนื่องจากเป็นแผลที่ทำให้รู้สึกเจ็บและปวดแสบปวดร้อน รวมถึงนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ แถมในบางกรณีต่อให้รักษาโรคหายแล้วก็ยังทิ้งร่องรอยเอาไว้ได้อีกด้วย

แผลริมอ่อนหายเองได้ไหม

ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะมีโอกาสหายเองได้ในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นจะต้องทรมานกับอาการเจ็บแผลที่มีขนาดใหญ่ หรือถ้าดูแลตนเองอย่างไม่ถูกวิธีเชื้ออาจลุกลามต่อไปได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด

แผลริมอ่อนใช้เวลารักษากี่วัน

หากทำการรักษาแผลริมอ่อนด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แผลมักจะดีขึ้นภายใน 3-7 วัน แต่ทั้งนี้ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผลริมอ่อนด้วยว่าใหญ่หรือไม่ หากเป็นแผลใหญ่จะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า