การติดเชื้อ HIV ซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทยเพราะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังคงต้องกินยาตลอดชีวิต ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละ 1095 คน โดยจะพบการติดเชื้อสูงในกลุ่มประชากรชายรักชาย กลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และกลุ่มประชากรชายหญิงตามลำดับ ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยมีวีธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ถุงยางอนามัย การรับยาต้านการติดเชื้อเชื้อ HIV หลังการสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง PEP (Post-exposure prophylaxis) ยาต้าน HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ PrEP (Pre-exposure prophylaxis) โดยปัจจุบันเรามีทางเลือกใหม่เพิ่มเติมให้สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ชอบทานยา และผู้ที่ลืมทานยาบ่อย ๆ โดยการใช้ยา PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) คืออะไร? PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) คือ การฉีดยาต้านก่อนสัมผัสเชื้อ HIV ซึ่งในปัจจุบันปัจจุบันกระทรวงสาธรณสุขประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Apretude โดยทั่วไปเราอาจจะรู้จักกันในชื่อเรียกอีกอย่างนึงว่า CAB…
Doxy PEP (Doxycycline Post-Exposure Prophylaxis) คือ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ชื่อว่า Doxycycline มาใช้เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลังมีเพศสัมพันธ์ได้ภายใน 24-72 ชั่วโมง สามารถลดโอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์(STDs) ได้แก่ โรคซิฟิลิส (Syphilis) 80%-90% โรคหนองในเทียม (Chlamydia) 70%-80% และโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) 50% ตามงานการวิจัย ซึ่งผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าสามารถลดโอกาสการติดเชื้อเหล่านี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับผู้ที่ความเสี่ยงสูงเช่น ผู้ที่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ มีคู่นอนหลายคน หรือกรณีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วถุงยางแตกฉีกขาด การใช้ยา Doxy-PEP ถือว่าเป็นตัวช่วยป้องในกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม Doxy PEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกชนิด เช่น เริม (Herpes Simplex), HPV ( Human Papillomavirus), ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis Virus), HIV ดังนั้นการป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย การใช้ยาต้านก่อนเสี่ยง (PrEP) รวมไปถึงการฉีดวัคซีน ยังคงมีความสำคัญ Doxy PEP…
ยา PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ PrEP ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าการป้องกัน HIV ไปทั่วโลก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (WHO) PrEP ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้สูงถึง 99% หากใช้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อ่านเพิ่มเติม : PrEP (เพร็พ) ยาป้องกันต้านเชื้อ hiv และ โรคเอดส์ คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ยา PrEP ทำงานอย่างไร? PrEP ทำงานโดยการยับยั้งกระบวนการเพิ่มจำนวนของเชื้อ HIV ในร่างกาย หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ยาจะลดโอกาสที่เชื้อจะเกาะตัวและแพร่กระจายเข้าสู่เซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน การรับประทาน PrEP อย่างถูกต้องและต่อเนื่องสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้สูงถึง 99% ความสำคัญของยา PrEP ในการป้องกัน HIV องค์การอนามัยโลก (WHO)…
แนะนำโรคไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร พร้อมบอกว่าเกิดจากอะไร จะรักษาได้แบบไหนบ้าง จะฉีดวัคซีนดีไหม และจะป้องกันการเกิดไวรัสตับอักเสบซีอย่างไร
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ทำไมถึงเป็น อันตรายหรือไม่ ควรที่จะรักษาและป้องกันอย่างไรให้สุขภาพดีขึ้น [ดูคำตอบ]
ทำความรู้จัก ไวรัสตับอักเสบเอคืออะไร ต่างจากไวรัสตับอักเสบอื่นอย่างไร เกิดได้อย่างไร และจะรักษาให้หายได้หรือไม่ ดูรายละเอียดได้ที่นี่
ทำความรู้จักกับตุ่ม PPE (Pruritic Papular Eruption in HIV) ดูสาเหตุการเกิด ลักษณะ การป้องกัน และวิธีรักษาอย่างละเอียด
ดูก่อน! แผลริมอ่อนคืออะไร อันตรายหรือไม่ รักษายังไงดีให้หาย ดูสาเหตุการเกิด ภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาในการรักษา
เอชไอวี คืออะไร? เอชไอวีคือไวรัสชนิดหนึ่งที่พอเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะค่อย ๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกายไปเรื่อย ๆ จนทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านเชื้อโรคได้ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนปกติหลายสิบเท่า เอชไอวี กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร? ชื่อเอชไอวีจะเป็นชื่อเรียกหลักของโรคนี้ เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเชื้อจะเริ่มจากการเป็นเอชไอวีก่อน และหากไม่ได้รักษาจนร่างกายเกิดติดโรคแทรกซ้อนขึ้น ถึงจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นเอดส์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะข้ามจากเอชไอวีเป็นเอดส์ ทำให้โรคเอดส์มีอีกชื่อหนึ่งคือโรคเอชไอวีระยะสุดท้าย เอชไอวี กับ ซิฟิลิส สองโรคนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันพอสมควร เพราะการติดเชื้อตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้โอกาสติดอีกโรคเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่า โดยมีสาเหตุมาจากแผลของโรคซิฟิลิสที่ทำให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย หรือโรคเอชไอวีที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและติดเชื้อซิฟิลิสง่ายขึ้น นอกจากซิฟิลิสแล้ว ก็ยังมีโรคอื่น เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ฝีมะม่วง แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ที่ติดได้ง่ายขึ้นเช่นกันหากมีเชื้อเอชไอวีอยู่ เอชไอวีเกิดจากอะไร เอชไอวีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า Human immunodeficiency virus ที่เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกาย และเป็นเหตุทำให้ทำเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นหลายเท่าตัว อาการของเอชไอวี เอชไอวีระยะแรกส่วนมากจะไม่แสดงอาการใด ๆ ที่เห็นได้ชัด เพราะเอชไอวีเพิ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้ไม่นาน และจำนวนเม็ดเลือดขาวยังมีเพียงพออยู่ แต่ถ้ามีอาการเกิดขึ้น…
หูดหงอนไก่คืออะไร? หูดหงอนไก่ หรือ โรคหงอนไก่ (Anogenital wart, Condyloma acuminata)เป็นหูดชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นติ่งของผิวหนังที่ยื่นออกมาและมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ โดยส่วนมากจะขึ้นได้ที่บริเวณอวัยวะเพศ บางคนจะมีตุ่มขึ้นบริเวณปากมดลูกก่อนซึ่งแสดงถึงอาการเริ่มต้น แต่ในบางรายสามารถขึ้นที่ทวารได้ สาเหตุการเกิดหูดหงอนไก่? หูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ที่ไปแฝงตัวอยู่บริเวณใต้ผิวหนังและทำให้เกิดเป็นหูดขึ้น หูดหงอนไก่ติดต่อได้ทางไหน? เนื่องจากบริเวณที่หูดหงอนไก่มีอาการส่วนมากจะเป็นบริเวณอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง ทำให้โรคนี้ส่วนมากติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์มากกว่า แต่ก็มีกรณีการติดเชื้อที่บริเวณอื่นเช่น ลิ้น หรือ โพรงจมูก ได้เหมือนกัน หูดหงอนไก่อันตรายไหม? โดยตัวโรคแล้วถือว่าไม่อันตราย เพราะอาการของโรคจะทำให้เกิดภาพที่อาจดูไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่พอรักษาอย่างถูกต้องอาการนี้ก็จะหายไปและไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่ในหลาย ๆ ครั้งโรคนี้จะเป็นโรคที่รักษาหายยาก และบางรายอาจต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ ในการรักษา หูดหงอนไก่ระยะฟักตัว? โรคหูดหงอนไก่จะมีระยะฝักตัวประมาณ 2-3 เดือนโดยเฉลี่ย แต่บางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ไปจนถึง 8 เดือน หูดหงอนไก่ อาการเริ่มต้น หูดหงอนไก่ชาย และ หูดหงอนไก่หญิง จะมีอาการเหมือนกันคือมีลักษณะคล้ายติ่ง หรือตุ่มขึ้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกับอวัยวะเพศ หรือบริเวณอวัยวะเพศโดยตรง ส่วนมากไม่มีอาการคัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีรักษาหูดหงอนไก่ในผู้หญิง…