Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ยาต้านไวรัส HIV แบบป้องกันและฉุกเฉิน คืออะไร รับได้ที่ไหน

ยาต้านไวรัส-HIV-คืออะไร-รวมทุกเรื่องที่คุณต้องรู้

ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับ ยาต้านไวรัส HIV ประเภทต่าง ๆ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเชื้อก่อน เนื่องจากหลาย ๆ คนมักมีความเชื่อฝังใจว่า เมื่อมีเชื้อ HIV คือเป็นเอดส์ แท้จริงแล้ว HIV กับ AIDS ต่างกันอย่างไร มาศึกษาเรื่องนี้ด้วยกันครับ

HIV (Human immunodeficiency virus) เป็นไวรัสในกลุ่ม เรโทรไวรัส (retrovirus) เป็นสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งจะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือที่คนไทยพูดติดปากกันว่า “โรคเอดส์” (AIDs acquired immune deficiency syndrome) เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม

ซึ่งเชื้อ HIV สามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระ และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคเลือด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อ HIV :

AIDs (AIDs acquired immune deficiency syndrome) เป็นระยะสุดท้ายของ HIV infection เป็นระยะภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคต่าง ๆ มากมายหรือที่เรียกว่า เชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเอดส์ : ข้อมูล โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน แสดง

ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร

ยาต้านไวรัสคือยาที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV มีการใช้ใน 2 ลักษณะ ทั้งในช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น


ประเภทของยาต้านหรือยารักษา HIV

ประเภทของยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้น ถูกแบ่งได้ตามกลไกการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase ซึ่งเป็นenzymeที่ไว้เปลี่ยน RNA ของเชื้อเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้ ยาในกลุ่มนี้ เช่น Tenofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
  2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) กลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs เช่น Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
  3. Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) ยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)
  4. Protease Inhibitors (PIs) รบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ ยาในกลุ่มนี้เช่น Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)

ยาต้านไวรัส ที่ใช้ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV มีอะไรบ้าง

ยาในกลุ่มนี้สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้

Pre-exposure prophylaxis (PrEP)

Pre-exposure prophylaxis (PrEP) การตรวจเลือดก่อนรับยาต้องใช้ผลตรวจดังต่อไปนี้ Anti-HIV ไวรัสตับอักเสบบี และการทำงานของไต หากเป็นครั้งแรกที่คนไข้มารับยา PrEP แพทย์จะจ่ายาให้ไปใช้สำหรับ 1 เดือนก่อน และจะนัดมาตรวจ Anti-HIV

อย่างไรก็ตามหากเป็นไปได้ถึงแม้ว่าจะใช้ยา PrEP แล้วก็ตามการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยก็จะเป็นการ double protection ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน HIV รวมถึงโรคอื่นๆได้ด้วย และยา PrEP สามารถทานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายและผลข้างเคียงในระยะยาว แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

โดยผู้ที่ทานยา PrEP อย่างต่อเนื่องควรมีการนัดตรวจติดตามผลเลือดกับแพทย์ทุกๆ 3 เดือน

Post exposure prophylaxis (PEP)

Post exposure prophylaxis (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน หรือยาต้าน HIV ที่ทานหลังจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมา โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) ขึ้นกับแพทย์จะพิจารณา ยากลุ่มนี้จะมีเงื่อนไขที่มากกว่าและรัดกุมกว่าการรับยา PrEP โดยยา PEP ต้องรับภายใน 72 ชม.

หลังจากได้รับความเสี่ยงเท่านั้น ถ้าเวลาเกินไปมากกว่า 72ชม. การใช้ยา PEP จะแทบไม่เกิดประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ผู้รับยาต้องมีการตรวจเลือดดังต่อไปนี้ก่อนการรับยา: Anti-HIV, ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส ค่าการทำงานของไต และค่าเอนไซม์ตับ โดยยา PEP จะต้องทานทั้งสิ้น 28 วัน

โดยหลังทานยาครบตามที่แพทย์กำหนดจะต้องมีการตรวจ Anti-HIV ซ้ำ การรับยา PEP สามารถรับได้มากกว่า 1 ครั้งและสามารถรับซ้ำได้ในทุก ๆ ครั้งที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น การใช้ยา PEP ไม่ได้ทำให้เกิดการดื้อยาแต่อย่างใด


ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัส HIV

ใครบ้างที่ควรได้รับยาต้านไวรัส HIV ทาง Safe Clinic จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีหลัก ๆ คือการรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น มีชื่อว่า PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)หรือ ยาต้านก่อนเสี่ยง และการรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่า PEP (Post -Exposure Prophylaxis) หรือยาต้านฉุกเฉิน

ใครบ้างควรได้รับ PrEP

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเลือดและมีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่คู่นอนเป็นผู้ติดเชื้อ HIV (ยาควรได้รับการพิจารณาจ่ายโดยแพทย์)

ใครบ้างควรได้รับ PEP

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ HIV
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้

ข้อควรรู้ก่อนรับยาต้าน HIV

  • กรณีของยา PEP หรือยาต้านฉุกเฉิน ที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นเกิน 72 ชม. มาแล้วไม่จำเป็นต้องรับยา แต่ควรมาตรวจเลือดหลังจากผ่านไปอย่างน้อย 14-21 วันหลังจากวันที่มีความเสี่ยง
  • ผู้ที่ต้องการรับยาแต่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เพราะมีผลต่อการเลือกสูตรยาที่จะใช้

ยาต้านไวรัส HIV รับได้ที่ไหน

การรับยาต้าน ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา


ยาต้านไวรัส HIV ราคา

ราคาของยาแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกันจากฐานการผลิตและผลข้างเคียงของยา กลุ่มยาที่ราคาต่ำมักมีผลข้างเคียงมากกว่ายาที่ราคาสูง

รายการราคา
PEP (30 tablets)2,500 – 18,200
PreP (30 tablets)1,000 – 3,200
PEP lab test3,000
PreP lab test2,000

ราคายาต้านไวรัส HIV ทั้ง 2 รูปแบบคือ PrEP และ PEP มีหลายราคาขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวนบรรจุ ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000-3,500 บาท ทั้งนี้ก่อนรับยา จำเป็นต้องพบแพทย์ปรึกษาและทำการเจาะเลือด เพื่อเช็คผลเลือดหาเชื้อ HIV จึงจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ร่วมด้วยในครั้งแรก โดยสามารถดูราคาของยาที่ Bangkok Safe Clinic ได้ที่นี่ ราคายาต้านไวรัส HIV


ยาต้านไวรัส HIV ต้องทานตอนไหน และการปฏิบัติตัวหลังทานยาต้าน

การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด ซึ่งต้องใช้ตัวยาด้วยกัน 3 ชนิด เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา อัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก

ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็ช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

วิธีรับประทานยา

  1. รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด ทุกมื้อ และทุกวันเลยเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงเวลาด้วยตนเอง ยาที่แนะนำให้กินพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร ทันทีเพื่อการดูดซึมยาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
    RPV, ATV, DRV และ EVG/COBI
    • กรณีกินยาในกลุ่ม integrase inhibitor ควรตรวจสอบการกินวิตามินหรือยาที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม อลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียมและสังกะสี
    • ยาที่ห้ามให้ร่วมกับ RPV เช่น ยาลดกรด โดยเฉพาะยากลุ่ม PPI ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดให้ใช้ ranitidine ตามเวลาที่กำหนด
    • ยาที่แนะนำให้กินก่อนนอนและท้องว่างเพื่อลดผลข้างเคียงยา ได้แก่ EFV
  2. ไม่ควรเปลี่ยนยา เพิ่มหรือลดขนาดยาด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางการรักษาใหม่ที่เหมาะสม
  3. หากจะใช้ยาอื่นนอกเหนือที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  4. ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากหยุดยาระยะหนึ่งแล้วมารับประทานต้องแจ้งให้แก่แพทย์ผู้รักษาทราบ เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น
  5. ในระหว่างที่รับยาต้าน HIV ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไปจนกว่าจะทานยาครบตามกำหนดที่แพทย์สั่ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องการการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเพิ่ม และยาอาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยในการกำจัดเชื้อ

ยาต้านไวรัส HIV กับผลข้างเคียง

ปัจจุบัน ยาต้านไวรัส HIV ทั้ง 2 ประเภทคือ PrEP (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และ PEP (ยาต้านฉุกเฉิน) มีการพัฒนาสูตรการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความปลอดภัยสูง

แต่อาจพบอาการข้างเคียงของยาต้านไวรัส บ้างในบางรายเช่น รู้สึก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ แต่อาการเหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากที่เริ่มรับประทาน โดยจากสถิติแล้ว ผลข้างเคียงมีได้ดังนี้

  • Diarrhea (ท้องเสีย) 21-25%
  • Dizziness (เวียนศรีษะ) 21-25%
  • Headache (ปวดศีรษะ) 21-25%
  • Insomnia (นอนไม่หลับ) 25-25%
  • Rash (ผื่น) 21-25%
  • Asthenia (อ่อนแอ) 26-20%
  • Nausea (คลื่นไส้) 16-20%
  • Rhinitis (โรคจมูกอักเสบ) 16-20%
  • Abdominal pain (ปวดท้อง) 11-15%
  • Paresthesia (อาการชาในระบบประสาท) 11-15%

และหากรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไปแพทย์แนะนำให้ตรวจค่าการทำงานของตับและการทำงานของไตเนื่องจากยาต้านไวรัสส่งผลต่อการทำงานของตับและไต


ต้องทานยาต้านไวรัส HIV ไปตลอดไหม

สำหรับการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV นั้น มีการใช้ใน 2 ลักษณะ นั่นคือ การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (PrEP หรือยาต้านก่อนเสี่ยง) และการใช้ยาเพื่อป้องกันหลังสัมผัสโรค (PEP หรือยาต้านฉุกเฉิน) ซึ่งมีระยะเวลาในการใช้ยาแตกต่างกันดังนี้

การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP)

การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP) หรือยาต้านก่อนเสี่ยงนั้น ผู้ป่วยต้องจะรับประทานยาติดต่อกันทุกวันตลอดช่วงที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ และการใช้ยาในลักษณะนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มยาว่าตนไม่มีเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว ทานยา PrEP อย่างไร: มี 2 ทางหลัก ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน

  • Daily: ต้องกินต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วันก่อนที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV และกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันและเมื่อจะหยุดกินยาให้หยุดกินหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 7 วัน
  • On Demand: วิธีนี้ เหมาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเท่านั้น โดยรับประทาน PrEP 2 เม็ด 2-24 ชั่วโมงก่อนมีเพศสัมพันธ์ หลังจากนั้นรับประทานPrEP 1 เม็ด ทุกวัน เป็นเวลา 2 วันหลังจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันล่าสุด เราจึงมีอีกชื่อให้กับวิธีทาน PrEP แบบนี้ว่า 2-1-1

การใช้ยาเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสโรค (pre-exposure prophylaxis; PrEP)

การใช้ยาเพื่อป้องกันหลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis; PEP) หรือที่เรียกว่ายาต้านฉุกเฉิน เป็นยาฉุกเฉินในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ที่จำเป็นต้องรับประทานทันที หรือให้เร็วที่สุดหลังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง ยิ่งเร็วยิ่งดี ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงยิ่งขึ้น

โดยจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัส ก่อนที่เชื้อ HIV จะแพร่ในร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อได้กว่า 80% เลยทีเดียว ต้องรับประทานติดต่อกันนาน 28 วันให้ตรงเวลาเดิมทุกวัน และต้องมีการตรวจเลือดเพื่อดูผลการป้องกันหลังจากครบ 28 วันแล้วด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อรับประทานยาครบตามจำนวนที่กำหนดและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลงสามารถหยุดยาได้ตามที่แพทย์แนะนำ แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ตนเองมีความเสี่ยงอีกในอนาคต


ทานยาต้าน HIV แล้วหายห่วง ไม่ต้องป้องกันได้ใช่ไหม

On PrEP แล้วสดได้ไหม ถึงแม้ ยา PrEP (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และ PEP (ยาต้านหลังเสี่ยง) จะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ได้จริงแต่ก็ไม่ถึง 100% และตัวยาต้านทั้งสองเองก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูดหงอนไก่ ฯลฯ

ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่เราไม่ทราบ HIV status ของคนคนนั้น ควรมีการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ


ทานยาต้านไวรัส HIV ไม่ตรงเวลา เป็นอะไรไหม

ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV กับการทานยาต้านให้ตรงเวลานั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยรักษาระดับยาจะให้คงที่ในกระแสเลือด ช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสไม่เพิ่มจำนวน ลดผลข้างเคียงและโอกาสการดื้อยาในอนาคต ดังนั้นหากทานยาต้านไม่ตรงเวลา หรือขาดยา ก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล

เชื้อไวรัส HIV ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเปลี่ยนยาไปใช้ในสูตรที่แรงการสูตรเดิมรวมทั้งผลข้างเคียงที่มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือ ติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น


สามารถทานยาต้านไวรัสร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ไหม

โดยปกติแล้ว สามารถทานยาต้านไวรัส HIV ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ปกติ แต่มียาต้านไวรัสบางกลุ่มที่ห้ามรับประทานพร้อมกับยากลุ่มอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

  1. ยากลุ่ม RAL (Edurant) จะมีข้อบ่งชี้กับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ในกรณีต้องทานยา antacid ต้องทานยา antacid ก่อน 2 ชั่วโมง หรือถ้าต้องการทานตามหลังต้องทานหลังทานยา Edurant ไปแล้ว 4 ชั่วโมง และไม่ควรทานยากลุ่ม Omeprazole ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenobarbital, Phenytoin รับกับ Edurant
  2. ยากลุ่ม DTG (Trivicay) ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ร่วมกับยากลุ่ม Metformin หรือคนไข้ในกลุ่มมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานที่รักษาด้วยยา Metformin

สรุป

ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงอย่านิ่งนอนใจ รีบพบแพทย์ตรวจเลือด และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ต้องกลัว เขิน อาย หรือกังวล เพราะ HIV สามารถป้องกันได้ และหากพบว่ามีการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ การเริ่มการรักษาได้เร็วจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวได้เท่ากับคนปกติ

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับยาต้านไวรัส HIV

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า