รู้หรือไม่ ในยุคที่เร่งรีบในทุกวันี้อาจทำให้คุณละเลยการดูแลสุขภาพของคุณไป ไม่รู้ถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายที่อาจเสื่อมลงจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมหรือไลฟสไตล์ที่ไม่เหมาะสม เช่น มลภาวะฝุ่น PM2.5 การนอนดึก การทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มโอกาสและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากขึ้น แม้บางครั้งเราคิดว่าสามารถดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดีแล้วแต่บางครั้งอาจไม่เพียงพอ ซึ่งภัยของโรคร้ายเหล่านี้เอาจอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด นั่นจึงเป็นสาเหตุของการมีอยู่ของ การตรวจสุขภาพประจำปี นั่นเอง
การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไรและเพื่ออะไร
การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการตรวจเช็คเพื่อดูสภาวะจริงการทำงานของร่างกาย และเป็นการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease; NCD) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญอยู่มากในปัจจุบัน โรคเหล่านี้หากไม่มีการรักษาหรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้เหมาะสม อาการของโรคเหล่านี้อาจสามารถทวีความรุนแรงขณะมีการดำเนินไปของโรค จนสุดท้ายอาจนำไปสู่การเกิดโรคที่ร้ายแรงหรือโรคซับซ้อนตามมาภายหลังได้
ทำไมการตรวจสุขภาพถึงสำคัญ?
- ค้นหาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจสุขภาพประจำปีมีส่วนช่วยทำให้ตรวจหาความเสี่ยงของโรคในขณะยังไม่มีหรือมีอาการของโรคนั้นเล็กน้อย ซึ่งยิ่งมีการตรวจพบเร็วเท่าไร การวางแผนการรักษาและรับการรักษาจะสามารถทำได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต และคุณจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้อีกด้วย
- การรับคำแนะนำจากแพทย์ รวมถึงแนวทางการป้องกันโรค การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นโอกาสที่ดีในการพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคุณ โดยคุณจะได้รับคำแนะนำส่วนบุคคลเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และอาจรับคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรครวมถึงการได้รับวัคซีนที่จำเป็น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด B
- การติดตามและวางแผนแนวทางการรักษาโรคเรื้อรัง การตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและติดตามอาการของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นความสำคัญอย่างหนึ่งต่อกระบวนการรักษา เพื่อที่แพทย์จะสามารถติดตามประสิทธิภาพของการรักษาและปรับเปลี่ยนแผนหรือแนวทางการรักษาให้เหมาะสม
การตรวจสุขภาพประจำปีมีการตรวจอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพประจำปีนั้น จะตรวจรายการใดบ้างขึ้นกับเพศ อายุ ประวัติโรคในครอบครัว สภาวะผิดปกติและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่พบที่อาจนำไปสู่การเกิดโรค พร้อมทั้งในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการสังเกตดูว่าควรตรวจอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะสุขภาพของแต่ละคนนั้นมีปัญหาต่างกันออกไป การตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 35 ปี ไปจนถึง 70 ปี จะมีโปรแกรมตรวจสุขภาพทั้งแบบพื้นฐานไปจนถึงการตรวจอย่างละเอียดเพื่อให้มีความเหมาะสมและครอบคลุมต่อการดูแลสุขภาพของบุคคลนั้นๆ รายการตรวจสุขภาพประจำปีมีรายการดังนี้
การตรวจปัสสาวะ
- การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) ตรวจเพื่อดูภาวะความเสี่ยงของโรคไต ความเสี่ยงโรคเบาหวานและภาวะภาวะการติดเชื้อของระบบทางเดิมปัสสาวะ
- การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count ,CBC) ตรวจเพื่อหาภาวะซีด ภาวะการติดเชื้อและภาการตรวจเลือดอื่นๆ
- การตรวจการทำงานของไต (BUN, Creatinine)
- การตรวจการทำงานของตับ (AST, ALT, ALP, Total bilirubin, Direct bilirubin, Albumin, Total protein)
- การตรวจค่าไขมัน (lipid profile: HDL LDL Cholesterol Triglyceride) ตรวจเพื่อประเมิณความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar(FBS) ตรวจเพื่อประเมิณความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
- การตรวจระดับน้ำตาลสะสม 3 เดือน (HbA1c) ตรวจเพื่อประเมิณความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือการตรวจติดตามการควบคุมน้ำตาล ( Glycemic control )
- การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, freeT3, freeT4)
- การตรวจระดับกรดยูริก (Uric acid)
- การตรวจคัดกรองมะเร็ง
- มะเร็งลำไส้ (CEA)
- มะเร็งจับอ่ออน/ท่อน้ำดี (CA19-9)
- มะเร็งตับ (AFP)
- มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
- มะเร็งรังไข่ (CA125)
- มะเร็งเต้านม (CA15-3)
เตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจสุขภาพ
การเตรียมพร้อมร่างกายก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีส่วนสำคัญก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความสอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงของสุขภาพในช่วงนั้นมากที่สุด การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพมีดังนี้
- กำหนดเวลานัดหมายล่วงหน้า ควรทำการนัดหมายล่วงหน้ากับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถเข้ารับการตรวจในเวลาที่สะดวก และแพทย์สามารถเตรียมการตรวจให้เหมาะสม
- เตรียมข้อมูลสุขภาพ เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทางสุขภาพ รวมถึงยาที่คุณกำลังใช้และอาการที่คุณมี เพื่อให้แพทย์สามารถวิเคราะห์และให้คำแนะนำที่เหมาะสม
- ปฏิบัติตามคำแนะนำก่อนการตรวจ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- งดการบริโภคน้ำหวานทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาหารอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง (กรณีมีการตรวจระดับน้ำตาลหรือตรวจระดับไขมันในเลือด) *สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ*
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 วัน ก่อนวันตรวจสุขภาพ
- สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- สำหรับผู้หญิงที่ต้องการตรวจปัสสาวะ ควรตรวจหลังมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คือ ช่วงวันที่ 1-7 หลังหมดประจำเดือน
สรุป
การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลตัวเองให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรค อีกทั้งการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอนั้นมีส่วนช่วยให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพในระยะเริ่มต้น นำไปสู่การได้รักษาหรือรับคำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและขอส่งท้ายนี้ด้วยประโยคที่ว่า สุขภาพดีได้ด้วยตัวของคุณเอง