ไวรัสตับอักเสบเอ (Viral hepatitis A) เป็นโรคตับที่พบได้บ่อยในคนไทย โดยทั่วไปแล้วไม่มีอาการหนักและหายเองได้ ในบางกรณีอาจมีอาการเหมือนกับไข้หวัด แต่ในผู้ป่วยที่มีโรคตับอื่นๆ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดพฤติกรรมของตับที่รุนแรงขึ้น ทางที่ดีควรได้รับการรักษาและทำความเข้าใจในตัวโรคอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ดังนั้น มาทำความรู้จักกับโรคไวรัสตับอักเสบเอให้มากขึ้นกันดีกว่าว่า โรคนี้คืออะไร มีอาการแบบไหน เกิดจากอะไร รวมถึงจะป้องกันและรักษาไวรัสตับอักเสบเออย่างไรได้บ้าง
Hepatitis A หรือ โรคไวรัสตับอักเสบเอ คือ โรคตับอักเสบชนิดเอ (HAV) โดยปกติจะไม่ใช่โรคที่รุนแรงและเรื้อรัง แต่ถ้าไม่ระมัดระวังหรือรักษาก็อาจจะทำให้เป็นหนักและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างเช่น การเกิดอาการตับวาย ฯลฯ โดยปกติแล้วจะพบคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบเอได้บ่อยจากทั่วโลก ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อปี และพบมากในประเทศยังไม่พัฒนาและกำลังพัฒนา เนื่องจากยังขาดระบบสาธารณสุขที่ดี ทำให้ผู้คนต้องรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือใช้ชีวิตอย่างไม่ถูกสุขอนามัย
นอกจากนี้ โรคไวรัสตับอักเสบเอยังพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงสามารถทำการแพร่เชื้อได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน ทางเลือด หรือการมีเพศสัมพันธ์ แต่จะไม่มีการติดต่อจากแม่ไปสู่ลูก
ลักษณะของไวรัสตับอักเสบเอ จะแพร่กระจายผ่านทางทวารหนักและปากเป็นหลัก รวมถึงกระจายผ่านการสัมผัสร่างกายผู้ติดเชื้อหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และการมีเพศสัมพันธ์ ในเด็กต่ำกว่า 6 ปีมักไม่มีอาการ และมากกว่า 70% ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปีและในผู้ใหญ่
โดยระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบเอจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 14–28 วัน และมักจะมีอาการนานถึง 50 วันเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ ก็สามารถหายได้ ยกเว้นในบางรายที่ผู้ป่วยอาจมีดีซ่านยาวนานมากกว่า 10 สัปดาห์ หรือมีตับอักเสบรุนแรงจนถึงตับวายเฉียบพลัน ทำให้เสียชีวิตได้ (แต่ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีโรคตับอักเสบหรือตับแข็งอยู่เดิมแล้ว)
ไวรัสตับอักเสบนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบเอ, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, ไวรัสตับอักเสบดี และไวรัสตับอักเสบอี โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ชนิดของไวรัสตับอักเสบ | อาการ |
ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A virus) | ส่วนใหญ่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บชายโครงขวา ตัวเหลือง หรือตาเหลือง แต่ถ้าเป็นหนักอาจมีอาการตับวาย สามารถติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค รวมถึงการสัมผัสและอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย |
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) | ส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงออก แต่จะมีอาการตับอักเสบเรื้อรัง และมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ นานวันเข้าอาจมีภาวะตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ สามารถติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่บุตร |
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus) | ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ จนกว่าจะตรวจก็จะไม่ทราบ สำหรับอาการมักมีอาการตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็ง มะเร็งตับได้ โดยโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ทางเลือด และการมีเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D virus) | ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระ สีซีด ปัสสาวะ สีเข้ม ตาและตัวเหลือง อ่อนเพลีย อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดท้อง โดยจะติดเชื้อมาจากการสัมผัสกับเลือดที่มีเชื้อ ผ่านเข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน หรือมีเพศสัมพันธ์ |
ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E virus) | ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลืองดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน แต่ในเด็กไม่มีอาการ ส่วนการติดต่อจะทำได้ผ่านการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ ติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อ ติดต่อด้วยการถ่ายเลือดกับผู้ติดเชื้อ และติดต่อจากแม่สู่ลูก |
โรคไวรัสตับอักเสบเอ หรือในชื่อเดิมคือ Infectious hepatitis เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (HAV) ซึ่งมีสาเหตุการติดต่อที่เกิดขึ้นได้ง่ายจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ดังต่อไปนี้
อาการของผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบเอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการเบื้องต้นคล้ายๆ กันคือ
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น ภาวะตับวาย ซึ่งจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับอยู่แล้ว และกลุ่มของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ที่จะมี การฟื้นตัวของอาการหลังจากติดเชื้อที่ช้า และอาจใช้เวลาฟื้นตัวหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ส่วนเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปีมักไม่มีอาการ
การวินิจฉัยและการตรวจไวรัสตับอักเสบเอแพทย์จะทำการตรวจภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ชนิด IgM ต่อไวรัสตับอักเสบ เอ (IgM anti HAV) ในน้ำเหลือง ซึ่งจะเก็บทันทีหรือขณะป่วย ใช้ระยะเวลาในการรอผลประมาณ 5-10 วันหลังติดเชื้อ และพบจนถึง 6 เดือนหลังจากเริ่มป่วย
นอกจากนี้อาจใช้วิธีการตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น 4 เท่าหรือมากกว่าในน้ำเหลืองที่เจาะ 2 ครั้ง โดยวิธี RIA หรือ ELISA ร่วมด้วย ซึ่งถ้าผลตรวจพบว่าผลเป็นลบ (Negative) แสดงว่า ไม่มีการติดเชื้อไวรัสนี้มาก่อน รวมถึงไม่ได้ทำวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน และถ้าผลเป็นบวก (Positive) แสดงว่าในร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ หรืออาจจะเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน
สำหรับวิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบเอในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโดยยาเฉพาะทาง ส่วนใหญ่จะทำการรักษาตามอาการเป็นหลัก ซึ่งการรักษาจะเน้นการทำให้อาการป่วยดีขึ้น และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเพื่อให้ร่างกายดีขึ้นจากการสูญเสียของเหลวจากการท้องเสีย ท้องร่วง หรืออาเจียน เช่น การให้ยาแก้อาเจียน การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรงจะหายเองเป็นปกติได้ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน
นอกจากการรักษาตามอาการด้วยยาแล้ว ก็ควรที่จะดูแลตัวเองให้ดี เช่น พักผ่อนให้พอเพียง, งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงความเครียด, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เป็นต้น
ใครที่มีอาการเข้าข่ายว่ากำลังเป็นไวรัสตับอักเสบเออยู่สามารถเข้ารับการตรวจหาไวรัสตับอักเสบเอได้ที่โรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือสถานพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจหาเชื้อไวรัสผ่าน Hepatitis A virus, HAV IgM, Anti-HAV IgM ซึ่งขั้นตอนการตรวจไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ใช้เวลาเจาะเลือดประมาณ 10 นาที และหลังจากนั้นรอผล
วิธีการป้องกันไวรัสตับอักเสบเอนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น…
ไวรัสตับอักเสบเอติดต่อได้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงและเป็นเรื้อรังสามารถทำการรักษาให้หายได้และมีภูมิต่อโรค ทำให้ไม่กลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำอีก รวมถึงไม่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง แต่ที่น่ากลัวคือ การเป็นเชื้อที่สามารถติดต่อถึงกันได้ และอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนโรคไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งก็ควรที่จะป้องกันตัวเองให้ดี เช่น รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ, ล้างมือบ่อยๆ, ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด เป็นต้น
ไวรัสตับอักเสบเอ คือ โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของตับ จนทำให้มีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ฯลฯ ไปจนถึงมีอาการรุนแรง เช่น มีภาวะตับวาย เป็นต้น
ซึ่งการรักษาในปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาไวรัสชนิดนี้โดยตรง จะทำเพียงรักษาตามอาการ และถ้าหากมีอาการเกี่ยวกับตับ ควรไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ส่วนในแง่ของการป้องกันสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และการไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด รวมถึงสามารถได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอได้ด้วย ติดต่อเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยได้ที่นี่