Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

เอชไอวี (HIV) คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีการตรวจและรักษา 2024

เอชไอวี คืออะไร?

เอชไอวีคือไวรัสชนิดหนึ่งที่พอเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะค่อย ๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกายไปเรื่อย ๆ จนทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านเชื้อโรคได้ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนปกติหลายสิบเท่า

เอชไอวี กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร?

ชื่อเอชไอวีจะเป็นชื่อเรียกหลักของโรคนี้ เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเชื้อจะเริ่มจากการเป็นเอชไอวีก่อน และหากไม่ได้รักษาจนร่างกายเกิดติดโรคแทรกซ้อนขึ้น ถึงจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นเอดส์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะข้ามจากเอชไอวีเป็นเอดส์ ทำให้โรคเอดส์มีอีกชื่อหนึ่งคือโรคเอชไอวีระยะสุดท้าย

เอชไอวี กับ ซิฟิลิส

สองโรคนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันพอสมควร เพราะการติดเชื้อตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้โอกาสติดอีกโรคเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่า โดยมีสาเหตุมาจากแผลของโรคซิฟิลิสที่ทำให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย หรือโรคเอชไอวีที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและติดเชื้อซิฟิลิสง่ายขึ้น นอกจากซิฟิลิสแล้ว ก็ยังมีโรคอื่น เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ฝีมะม่วง แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ที่ติดได้ง่ายขึ้นเช่นกันหากมีเชื้อเอชไอวีอยู่

เอชไอวีเกิดจากอะไร

เอชไอวีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า Human immunodeficiency virus ที่เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกาย และเป็นเหตุทำให้ทำเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นหลายเท่าตัว

อาการของเอชไอวี

เอชไอวีระยะแรกส่วนมากจะไม่แสดงอาการใด ๆ ที่เห็นได้ชัด เพราะเอชไอวีเพิ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้ไม่นาน และจำนวนเม็ดเลือดขาวยังมีเพียงพออยู่ แต่ถ้ามีอาการเกิดขึ้น ในคนไข้บางรายจะรู้สึกเป็นไข้แบบมา ๆ หาย ๆ หรือมีน้ำหนักลดผิดปกติได้

เอชไอวีระยะสุดท้ายจะทำให้คนไข้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายมาก ทำให้ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลตลอดจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนของอาการที่พบได้ จะเรียกว่าตุ่ม PPE ซึ่งเกิดในคนที่เซลล์เม็ดเลือดขาวเหลือน้อยกว่า 5% นอกจากนี้จะมาจากการติดเชื้ออื่น ๆ ที่เป็นโรคแทรกซ้อน เช่น อาการของวัณโรค เป็นต้น

อาการโรคเอชไอวีของผู้ชาย ผู้หญิง ต่างกันไหม?

เอชไอวีจะแสดงลักษณะเหมือนกันโดยไม่จำกัดเพศหรือช่วงอายุ ที่ต่างกันจะเป็นระยะเวลาก่อนเปลี่ยนไปเป็นโรคเอดส์ของคนไข้แต่ละราย ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ 2-20 ปี

เอชไอวีติดต่อทางไหนบ้าง?

สาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวีจะมาจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย เพราะจะเป็นช่องทางที่แพร่ได้บ่อยที่สุด แต่นอกเหนือจากนี้ก็จะมีการรับบริจาคเลือดจากผู้มีเชื้อโดยตรง หรือกรณีเข็มฉีดยาตำ/ใช้เข็มฉีดยาฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้

วิธีรักษาเอชไอวี

การรักษาโรคเอชไอวี ในปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการทานยาต้านไวรัสประกอบกับการตรวจเลือดตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากนัก เพียงแค่ต้องมีระเบียบในการทานยาเท่านั้น ถึงเอชไอวีจะยังรักษาหายขาดไม่ได้ แต่ถ้าทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้คนไข้มีสถานะเทียบเท่าคนที่ไม่มีเชื้อและไม่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้อีกหากทานยาอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการรักษาเชื้อเอชไอวีที่ Bangkok Safe Clinic

หากตัดสินใจรักษาที่ Safe Clinic สิ่งแรกที่ต้องทำคือการตรวจเลือดเพื่อยืนยันผลที่จำเป็นต่อการรักษาเช่น ผล HIV, CD4, Viral load จากนั้นเมื่อแพทย์ประเมินผลเสร็จเรียบร้อยก็สามารถจ่ายยาไปทานได้เลย และหลังจากทานยาไปสักพักก็จะมีการนัดคนไข้มาตรวจเลือดบ้างเป็นครั้งคราว ช่วง 3 เดือนหรือ 6 เดือน แต่การรักษาจะได้ผลดีที่สุดถ้าคนไข้ทานยาอย่างสม่ำเสมอและไม่ขาดยา
รับยาต้านเอชไอวีได้ที่ไหน?
ที่ Safe Clinic มีบริการจ่ายยาต้านไวรัส HIV ให้คนไข้ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี หรือคนที่ต้องการรับยาสูตร PrEP และ PEP ก็มีเช่นกัน หากใครคิดว่าตัวเองเพิ่งเกิดถุงยางแตกขึ้นมามาไม่นานและจะรับ PEP หรืออยากป้องกันไว้ก่อนโดยการกินยา PrEP ก็สามารถเข้ามาตรวจเลือดที่คลินิกก่อนรับยาได้ทันที หรือสามารถติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มก่อนก็ได้

การป้องกันเชื้อเอชไอวี

การป้องกันเอชไอวีทำได้เหมือนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วไป คือการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง หรือสามารถทานยา PrEP เพื่อป้องกันล่วงหน้าได้ นอกเหนือจากนั้นช่องทางที่ป้องกันได้แน่นอนคือการช่วยตัวเองหากเกิดอารมณ์ทางเพศและรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น หูดข้าวสุก หรือ โรคตัวโลนที่มาเกาะตามอวัยวะเพศ แต่สำหรับคนที่อยากได้ทางเลือกอื่น ก็สามารถพึ่งการทำออรัลเซ็กส์ (เพศสัมพันธ์ทางปาก) ได้ด้วยเพราะวิธีนี้จะถือว่าไม่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในน้ำลายมีน้อยเกินกว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยง

สาเหตุที่ควรตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี

การตรวจเลือดหาเอชไอวีเป็นประจำถือเป็นเรื่องดีสำหรับคนที่ยังมีเพศสัมพันธ์บ่อยอยู่เพราะอาจมีบางครั้งที่เรารับความเสี่ยงมาโดยไม่รู้ตัวได้ ถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาจริง ๆ ก็จะได้รักษาตั้งแต่ต้นและดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากกรณีของการติดเชื้อเอชไอวีส่วนมากมาจากคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้ออยู่และไม่ได้เข้ารักษา แต่ถ้าตรวจแล้วผลปกติก็จะได้หาวิธีป้องกันได้อย่างถูกต้อง และลดการแพร่เชื้อลงได้

คำถามที่พบบ่อย

เอชไอวีรักษาหายขาดได้ไหม?

เอชไอวียังคงรักษาหายขาดไม่ได้ในผู้ป่วยทั่วไป ทำให้ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอทุกวันไปเรื่อย ๆ เพื่อกดไม่ให้เชื้อแพร่ในร่างกาย แต่ข่าวดีก็คือในปัจจุบันมีคนไข้สองคนในโลกที่รักษาหายขาดได้จริง ๆ แล้ว แต่วิธีรักษาก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะทั้งคู่ต้องใช้วิธีรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดที่ไขสันหลัง ซึ่งเป็นการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน

ติดเชื้อเอชไอวีขอวีซ่าได้ไหม?

การขอวีซ่าจะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป บางประเทศก็รับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีเข้าประเทศได้แต่ต้องมีข้อจำกัดบางประการ หรือบางประเทศก็ไม่รับเลย แต่ประเทศส่วนมากรวมถึงไทยเราจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องการตรวจเอชไอวีในการขอวีซ่าเลย

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า