ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ?
PEP
หากเราจะพูดถึงเชื้อไวรัส HIV หลายคนคงจะพอรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับยาต้านฉุกเฉิน อย่าง ยา PEP หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าคืออะไร เพราะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และรู้จักไม่แพร่หลายมากนัก ทั้งที่เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดี ในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
การรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด
ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )
ผู้ที่จะทานยา PEP ต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อแบบกะทันหัน
หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยา PEP คุณหมอขออาสาตอบทุกคำตอบเอง !
ทานยา PEP ครบกำหนดแล้วต้องมาหาหมออีกไหม
เมื่อกินยา PEP ครบแล้ว ต้องพบแพทย์จะตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังผ่านไป 1 เดือน และ 3 เดือน
ยา PEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์
คำถามยอดฮิตที่เชื่อว่าอยู่ในหัวของคนไข้ทุกคนที่จะกิน PEP แน่นอนว่าการใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ HIV หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน
วิธีการที่คนไข้รับเชื้อมาว่ามาจากเพศสัมพันธ์ในลักษณะไหนหรือโดนเข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนมา ระยะเวลาที่เริ่มกินยา PEP (ถึงแม้จะบอกว่าให้ทานภายใน 72 ชั่วโมงแต่ในทางปฏิบัติยิ่งทานเร็วก็จะส่งผลยิ่งดี ) ความสม่ำเสมอในการทานยา ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV ทั้งสิ้น
จากงานวิจัยการเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ที่ใช้ยา PEP รวมถึงโมเดลทดลองในสัตว์ พบว่าการใช้ยา PEP มีประโยชน์สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้จริง บางงานวิจัยให้ผลสรุปว่าการให้ยา PEP ภายใน 24 ชั่วโมงในลิงที่ทดลองฉีดเชื้อ HIV เข้าไป สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 100%
แต่ก็ดังที่กล่าวข้างต้นปัจจัยที่มีผลประสิทธิภาพของยา PEP นั้นมีมากมาย สิ่งสำคัญที่สุดอที่เราสามารถทำได้หลังพบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV แล้วนั้นคือการพบแพทย์เพื่อปรึกษาประเมินความเสี่ยงและรับยา PEP ให้เร็วที่สุดนั่นเอง
ยา PEP ต้องกินนานแค่ไหน
การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง
ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ PEP ได้ตลอดไหม
ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
การรป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ ยา PEP อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้ แต่ การลดความเสี่ยงติดเชื้อ HIV คงไม่ใช่แค่ทานยาต้านฉุกเฉิน เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
อย่าปล่อยให้ความสนุกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวทำลายอนาคต และถ้าใครรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงก็ควรหมั่นตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV เป็นประจำ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ก็มีโอกาสต้านเชื้อ HIV ได้เร็วเท่านั้น
มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไร
ระหว่างการกินยา PEP ร่างกายจะสามาระป้องกัน HIV ได้ ดังนั้นถ้ามีเพศสัมพันธ์ระหว่างกินยา PEP 3 สัปดาห์แรก จึงไม่ต้องกินยา PEP เพิ่มอีก แต่กรณที่มีเพศสัมพันธ์ในสับดาห์สุดท้าย ทางผู้รับยาต้องกินยาสูตรต่อเนื่องอีก 1 สัปดาห์
ยา PEP ซื้อได้ที่ไหน
ยา PEP ไม่สามารถซื้อทานเองได้การกินยาทุกครั้งต้องมีการตรวจ HIV, ไวรัสตับอักเสบ, ค่าการทำงานของตับ, ค่าทำงานของไต ก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้รับยา การไม่ตรวจเลือดและกินยาเองเป็นอันตรายต่อตัวเองและคนอื่นอย่างมาก ดังนั้นยา PEP จึงไม่มีขายในร้านขายยาทั่วไป การรับยา PEP จึงมีบริการในสถานพยาบาลเท่านั้น
ระหว่างรับยา PEP ต้องทำอย่างไรบ้าง
ระหว่างรับยา PEP ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ การกินยา PEP บางสูตรอาจต้องงดการกินยา หรืออาหารเสริมบางอย่าง แนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน สังเกตผลข้างเคียง ถ้ามีผลข่างเคียงรุนแรง และไม่หายภายใน 1 สัปดาห์แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ การกินยา PEP ต้องกินให้ตรงเวลาทุกวัน
การรป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ ยา PEP อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้ แต่ การลดความเสี่ยงติดเชื้อ HIV คงไม่ใช่แค่ทานยาต้านฉุกเฉิน เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่าปล่อยให้ความสนุกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวทำลายอนาคต และถ้าใครรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงก็ควรหมั่นตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV เป็นประจำ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ก็มีโอกาสต้านเชื้อ HIV ได้เร็วเท่านั้น