Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

โรคซิฟิลิส (syphilis) คืออะไร สาเหตุการเกิด อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

ซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum)  เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์  โดยเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการหลากหลายตามระยะที่ติดเชื้อ ได้แก่ ระยะแรกหรือระยะแผลริมแข็ง  ระยะที่สองหรือระยะขึ้นผื่นทั่วตัวและอาจมีแผลตามร่างกายซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ระยะออกดอก” และระยะสุดท้ายที่เชื้อโรคจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในทุกระบบของร่างกาย ซึ่งเป็นระยะภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่ทำให้เสียชีวิตได้

ซิฟิลิส คืออะไร

ซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไปตามกระแสโลหิต  และยังอาศัยอยู่ในร่างการของมนุษย์ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย  โดยสามารถมองเห็นเชื้อนี้ได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะเห็นเชื้อมีลักษณะเหมือนเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria)  หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาภายหลังได้

สาเหตุการเกิดโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสเกิดจาก  เชื้อแบคทีเรีย ทริปโปนีมาพัลลิดุม ( Treponema Pallidum ) ที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีความชื้นรูปร่างคล้ายเกลียวสว่าน ถูกทำลายและตายง่ายด้วยความร้อนในที่แห้ง สบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ เชื้ออาจมีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ลงในแหล่งน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฯลฯ  จากนั้น เชื้อจะเข้าสู่เยื่อเมือกหรือบาดแผลตามร่างกาย เช่น ช่องปาก เยื่อบุตา ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก เป็นต้น

การติดเชื้อซิฟิลิสนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มติดตั้งแต่ระยะที่ 1 – 2 เป็นระยะที่เชื้อโรคแพร่กระจายได้มากที่สุด แม้กระทั่งการใช้สิ่งของร่วมกับผู้เป็นโรคก็ทำให้ติดเชื้อได้ เช่น ช้อน ส้อม ห้องน้ำ  การสวมใส่เสื้อผ้า เป็นต้น แต่เนื่องด้วยเชื้ออ่อนแอและตายง่าย โอกาสที่เชื้อจะติดต่อผ่านการใช้สิ่งของร่วมกันจึงมีน้อยมาก

ดังนั้น สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อซิฟิลิส คือ เกิดจากการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากบาดแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นแผลและมีเชื้ออยู่ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถแพร่กระจายผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อส่งผ่านเชื้อไปยังลูกได้

อาการซิฟิลิส

อาการและอาการแสดงของโรคแบ่งตามระยะของการติดเชื้อ ออกเป็น 3 ระยะได้แก่

  1. ระยะที่ 1 หรือ ระยะเป็นแผล ( Primary Syphilis ) หรือ แผลริมแข็ง
    จะมีอาการหลังติดเชื้อประมาณ 10-90 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นตามผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น ขึ้นที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด อัณฑะ หัวหน่าว หัวนม หรือ ขาหนีบ ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อที่บริเวณใดบ้าง จากนั้น ตุ่มจะขยายกว้างขึ้นและใหญ่ขึ้น แตกออกกลายเป็นแผลกว้าง แผลเป็นรูปกลมหรือ รูปไข่ ก้นแผลคล้ายกระดุม แผลไม่ค่อยเจ็บมาก เรียกว่า “แผลริมแข็ง (chancre)” โดยแผลอาจเป็นแผลเดียวหรือแผลติดกันได้ จากนั้นอีก 1 สัปดาห์เชื้อจะเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งช่วงนี้หากตรวจก็จะตรวจพบเชื้อในกระแสเลือด แต่แผลจะหายได้เองใน 3- 10 สัปดาห์
  2. ระยะที่ 2 หรือ ระยะออกดอก ( Secondary Stage ) ใช้เวลาเข้าสู่ระยะนี้ 1-3 เดือน ผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก บางรายมีอาการเจ็บคอ มีปื้นขาวในปาก เริ่มเป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ผมร่วง จากนั้นอาการจะเริ่มสงบและหายไป แม้ไม่ได้รักษา แต่เชื้อก็จะยังอยู่ในร่างกายเช่นกัน
  3. ระยะที่ 3 คือ ระยะติดเชื้อ ( Tertiary Syphilis ) เป็นระยะที่เชื้อโรคพัฒนาเป็นระยะสุดท้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง เส้นประสาท หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะนั้น เกิดอาการ “อัมพาต” ไม่สามารถทำงานได้ เช่น ตาบอด สมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ เสียสติ และเสียชีวิตในที่สุด

ใครมีความเสี่ยงควรตรวจเชื้อซิฟิลิส

ผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • เปลี่ยนคู่นอน บ่อยๆ
  • ไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่สงสัยคู่นอนของตัวเองมีอาการป่วยคล้ายกับโรคซิฟิลิส
  • หญิงกำลังตั้งครรภ์ อาจตรวจเพื่อความมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแฝงอยู่

นอกจากนี้ยังแนะนำ สำหรับคู่ที่กำลังแต่งงาน หรือ ผู้หญิงที่เตรียมพร้อมจะมีบุตร แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่ามีความเสี่ยง ต่อโรคซิฟิลิส หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วยหรือไม่ เพราะหากติดเชื้อจริงๆ อย่างน้อยก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลาม และโดยทั่วไป คนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประมาณปีละครั้ง

วิธีการรักษาซิฟิลิส

การรักษาโรคซิฟิลิส ที่ดีที่สุด คือ การวินิจฉัยโรคให้เร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายในเบื้องต้น จากนั้นจะทำการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ และหากตรวจพบเชื้อก็จะมีการตรวจยืนยันเพื่อความมั่นใจและตรวจหาความผิดปกติอื่นร่วมด้วย และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางประสาทโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาจต้องทำการตรวจด้วยการเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อหาเชื้อเพิ่มเติม ผู้ป่วยสามารถสอบถามปรึกษา รักษาซิฟิลิส ได้ที่ Bangkok safe clinic

ส่วนยาที่ใช้ในการรักษา คือ ยาปฏิชีวนะซึ่งแพทย์จะฉีดให้ผู้ป่วยโดยดูจากระยะเวลาในการป่วยว่าได้รับเชื้อมานานเพียงใด

สำหรับผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลิน ปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่ใช้ทดแทน แต่จะให้รับประทาน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อดังกล่าว ร่วมกับการรักษาตามอาการต่อไป

การป้องกันโรคซิฟิลิส

การป้องกันการติดเชื้อจากโรคซิฟิลิส จึงต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ และหากไม่มั่นใจควรสวมถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกันทุกครั้ง

ส่วนคู่รักที่วางแผนแต่งงาน ควรตรวจร่างกายโดยละเอียดและตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยก่อนการแต่งงานและวางแผนตั้งครรภ์ เพราะหากพบว่าติดเชื้อก็จะได้วางแผนรักษาให้หายขาดดีกว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพ ด้วยการแพร่กระจายเชื้อให้อีกฝ่ายและส่งผ่านเชื้อให้ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการและเสียชีวิตในเวลาต่อไป

โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร

โรคซิฟิลิส สามารถติดได้ผ่านจากคนสู่คน จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับแผลที่มีเชื้อซิฟิสิส ซึ่งแผลนี้จะอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกช่องคลอด ปากทวารหนัก หรือที่ทวารหนัก

จึงสามารถติดต่อต่อกันได้ ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดทวารหนักหรือทางปาก นอกจาก โรคซิฟิลิส นี้ยังสามารถติดต่อผ่านได้จากแม่สู่ลูก โดยสตรีที่ตั้งครรภ์สามารถผ่านเชื้อนี้ไปให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ หรือระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อกรณีนี้จะเรียกว่า โรคติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital syphilis) ซึ่งนับเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง ส่งผลให้เด็กมีอาการหูหนวก ตาบอดมีความผิดปกติทางโครงสร้างต่างๆ รวมถึงความผิดปกติทางระบบประสาทในเด็กได้  และมีผลร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิต

แต่เชื้อนี้จะไม่สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสภายนอก เช่น ใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน การนั่งโถส้วม หรือ ช้อนส้อม  หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แบบที่หลายคนกังวล ดังนั้นหากใครกลัว โรคซิฟิลิสระบาด แล้วจะมาถึงตน ก็วางใจได้

ภาวะแทรกซ้อนหลังจากเป็นโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสจะมีความรุนแรงและอันตรายมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายและส่งผลร้ายต่ออวัยวะสำคัญ  อีกทั้ง ซิฟิลิส ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ง่าย สุดท้ายอาจลงเอยด้วยความพิการและเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือ ทารกในครรภ์

การวินิจฉัยโรคซิฟิลิส

ปัจจุบัน สามารถตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ได้จากการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดซิฟิลิส มีความแม่นยำสูง และทราบผลตรวจได้เร็ว โดยเฉลี่ยรอผลตรวจประมาณ 15-30 นาที สามารถตรวจเช็คได้โดยไม่ต้องมีอาการแสดง หรือผื่น แผล มี 2 วิธีคือ

  1. ตรวจเลือดเพิ่มเพื่อดูปริมาณซิฟิลิสในเลือด หรือเรียกว่า VDRL สามารถรู้ผลใน 1 วัน  เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
  2. การเจาะเลือดที่เจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส เพื่อยืนยันการวินิจฉัย  แต่การมีแผลบริเวณอื่น ๆ ที่เปิดอยู่แล้วการตรวจในบ้างครั้งอาจมีการเก็บตัวอย่างของเหลวจากแผลไปทดสอบได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีการตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid  Test ) จะทำในกรณีสงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท

คำถามโรคซิฟิลิสที่พบบ่อย

 แค่จูบปากก็สามารถติดเชื้อซิฟิลิสได้

แม้โรคซิฟิลิสจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถติดต่อได้ทางอื่นด้วย ผ่านการสัมผัสแผลโดยตรงของผู้ติดเชื้อ ทั้งจากผิวหนัง เยื่อบุตา หรือปาก ในกรณีการจูบปาก กับผู้ที่มีแผลซิฟิลิสในปาก ก็สามารถติดเชื้อจากเขาได้เช่นกัน แต่จากสถิติ สามารถพบได้น้อยมาก  แต่สามารถพบได้ รวมถึงกรณี ใช้ปาก เลียแผล สัมผัสแผลที่มีเชื้อซิฟิลิส  ทั้งบริเวณในช่องปาก ลิ้น อวัยวะเพศ หรือช่องทวารหนัก ก็สามารถติดต่อ

ซิฟิลิสติดทางน้ำลายไหม

โรคซิฟิลิส สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย การใช้ช้อนส้อม หรือดื่มน้ำแก้วเดียวกันลักษณะนี้ เชื้อไม่สามารถติดต่อกันได้

ซิฟิลิสกับเอดส์เหมือนกันไหม

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคซิฟิลิส และโรคเอดส์ เป็นโรคคนละชนิด และเกิดจากเชื้อแบคทีเรียต่างกัน

  • โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส หรือ HIV

โรคเอดส์ หรือ เชื้อไวรัส HIV จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อถูกทำลาย จึงมีโอกาสติดเชื้ออื่นได้ซ้ำโดยง่าย นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถได้รับเชื้อซิฟิลิสได้

รักษาซิฟิลิสได้ที่ไหน

โรคซิฟิสิสรักษาได้ไม่ยาก สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลชั้นนำจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา หรือจะสอบถามปรึกษาการรักษาซิฟิลิสกับทาง Bangkok safe clinic ก็ได้เช่นกัน

ซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้ไหม

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ ยิ่งตรวจพบได้เร็ว ผลการรักษายิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากรู้สึกสงสัยหรือพบอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็น โรคซิฟิลิส หรือไม่ ทางที่ดีคือ อย่าละเลย ควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งตนเองและคู่นอน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา และหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองเพื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยที่สุด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/574_49_1.pdf

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า