Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

โรคคลามายเดีย หรือ chlamydia trachomatis คืออะไร?

โรคคลามายเดีย คืออะไร

โรคคลามายเดีย หรือ โรคหนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยในประเทศทางตะวันตก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ คลามายเดีย แทรโคมาทิส (Clamydia trachomatis) ซึ่งการติดเชื้อทำให้เซลล์เยื่อบุผิวผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับเซลล์เยื่อบุต่างๆ เช่น อคชาติเพศชาย ช่องคลอด ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ เป็นต้น

เชื้อคลามายเดีย แทรโคมาทิสนั้น ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการ แต่เชื้อเข้าสู่ร่างกายและพร้อมแพร่กระจายต่อ ทำให้โรคนี้มีอัตราการติดเชื้อที่สูงได้ ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำอสุจิของผู้ชาย และอยู่ในน้ำในช่องคลอดของผู้หญิง

สาเหตุโรคคลามายเดีย

โดยปกติโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือ ทางทวารหนักโดยที่ไม่มีการป้องกัน  นอกจากการสัมผัสสารคัดหลั่งทางปากก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ยกตัวอย่างเช่น สารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำอสุจิ สารหล่อลื่นที่หลั่งออกมาในช่วงมีเพศสัมพันธ์

เมื่อเชื้อโรคสัมผัสผิวเยื่อบุ หรือ เยื่อเมือกเชื้อก็จะเข้าสู่อวัยวะนั้นๆ แล้วทำการก่อโรคและความผิดปกติทันที นอกจากนี้เชื้อในร่างกายยังสามารถลุกลามหาอวัยวะข้างเคียงที่มีสิ่งแวดล้อมเดียวกันได้ เช่น เชื้อสามารถลามจากทหารหนักไปช่องคลอดได้ หรือ ลุกลามจากช่องคลอดไปทหารหนักได้ เป็นต้น

ในเด็กที่คลอดผ่านทางช่องคลอด ถ้ามารดาติดเชื้อคลามายเดีย ก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อคลามายเดียที่ตาได้ เพราะเยื่อบุตาเด็กมีโอกาสสัมผัสน้ำในช่องคลอด นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์สำเร็จความใคร่หรืออุปกรณ์เสริมในการมีเพศสัมพันธ์ร่วมกันก็อาจทำให้ติดเชื้อได้

คลามายเดีย ติดที่ไหนได้บ้าง

การติดเชื้อ Chlamydia จะเกิดบริเวณเซลล์เยื่อบุผิว (Epithelial cells) ซึ่งหมายถึงเซลล์ที่บุบริเวณผิวนอกของร่างกาย และผิวภายในของอวัยวะที่มีลักษณะกลวง รวมถึงต่อมต่างๆ ในร่างกาย เช่น องคชาติ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ลำคอ และบางครั้งในตาของทั้งชายและหญิง ดังนั้นคลามายเดีย มักถูกเรียกว่าเป็นการติดเชื้อแบบซ่อนเร้น เพราะส่วนมากผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ

อาการโรคคลามายเดีย

อาการและอาการแสดงของโรค อาการที่พบส่วนใหญ่หลังเริ่มติดเชื้อจะยังไม่มีอาการ แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เชื้อจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ เนื่องจาก เชื้อจะไปทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติ คือ เซลล์จะมีรูปร่างผิดปกติ กลวงตรงกลาง สูญเสียหน้าที่ในการทำงาน หากไม่รักษาก็จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพทั้งระยะสั้น ระยะยาว

อาการที่พบเมื่อเซลล์ถูกทำลายและสูญเสียหน้าที่ได้แก่

  • อาการที่พบในผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดกระปริบกระปรอยระหว่างรอบเดือน  มีน้ำสีขุ่นไหลออกจากท่อปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะแสบขัด มีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง หรือ ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง  และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาอุ้งเชิงกรานอักเสบติดเชื้อได้
  • อาการที่พบในผู้ชาย คลามายเดียทำให้เกิดการอักเสบของท่อนำอสุจิในผู้ชายได้ อาการอื่นๆ ที่พบเช่น ปวดถุงอัณฑะ ปวดท้องน้อย มีน้ำไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ เป็นต้น

นอกจากนี้เชื้อยังทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อต่อต่างๆ เป็นการตอบสนองต่อการติดเชื้อของร่างกาย รวมไปถึงการอักเสบของอวัยวะต่างๆ เช่น เยื่อบุดวงตา เป็นต้น

การรักษาโรคคลามายเดีย

การรักษาโรคคลามายเดีย นั้น จำเป็นต้องรักษาให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะผู้หญิงที่ติดเชื้อคลามายเดีย เนื่องจากโรคทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น การติดเชื้อคลามายเดีย ระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ หรือ อาจทำให้น้ำหนักทารกน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก การตั้งครรภ์นอกโพรงมดลูกเป็นต้น

การรักษาที่สำคัญ คือ การให้ยาปฏิชีวนะเป็นหลักและต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องและทำการตรวจเพื่อติดตามการติดเชื้อซ้ำจนมั่นใจว่าร่างกายไม่มีเชื้อแล้ว หากร่างกายตอบสนองต่อยารักษาได้ดี อาการผิดปกติต่างๆ จะหายไปใน 1 สัปดาห์ และช่วงของการรักษาให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการผิดปกติต่างๆ จะหายไป หรือ เว้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์

การป้องกันโรคคลามายเดีย

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการติดเชื้อและการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ดูแลความสะอาดของร่างกายและชุดชั้นในอย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาหรือรับการรักษาจากแพทย์จนหายขาด หากมีอาการผิดปกติให้รบมาพบแพทย์ และถ้าไม่มั่นใจว่าคู่นอนหายจากการติดเชื้อ หรือ ได้รับเชื้อหรือไม่ให้สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง จนกว่าจะได้รับการตรวจและรักษาจนหายขาดต่อไป

การวินิจฉัยเชื้อคลามายเดีย

การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อคลามายเดีย สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่นาน ตรวจได้ทั้งชายและหญิง โดยการตรวจผู้ชายแพทย์จะทำการตรวจจากปัสสาวะ ดังนั้นคุณผู้ชายไม่ต้องกังวลต่อการตรวจว่าจะเจ็บหรือไม่ ในกรณีของผู้หญิงจะใช้การตรวจด้วยกาเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ ปาดเชื้อจากเนื้อเยื่อ(สว๊อบ) หรือตรวจด้วยปัสสาวะก็ได้เช่นกัน  นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อคลามายเดีย ทั้งนี้แพทย์จะนำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคอื่น ๆ ร่วมด้วย

การรักษาเชื้อคลามายเดีย

เมื่อมีการวินิจฉัยพบเชื้อคลามายเดีย (Chlamydia) จากการตรวจทางการแพทย์แล้ว แพทย์จะเริ่มให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยง่าย เพียงหนึ่งชุด หากตั้งใจดูแลตนเอง และปฏิบัติตมที่แพทย์แนะนำอย่างถูกต้อง โดยผู้ติดเชื้อควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน่อบๆ 7 วันนับจากวันที่เข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่นอน และควรบอกคู่นอนให้ทราบ เพื่อเขาจะได้เข้ารับการตรวจและรักษาหากพบว่าได้รับเชื้อไปแล้ว

โรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อคลามายเดีย

หากไม่รักษา และปล่อยให้เชื้อเจริญเติบโตอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียระยะยาวต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งผลเสียจากภาวะแทรกซ้อนของผู้หญิงและผู้ชายก็มีความแตกต่างกัน

ภาวะแทรกซ้อนคลามายเดียผู้หญิง : ในผู้หญิง เชื้อคลามายเดีย สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) และกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อ ทำให้ติดต่อไปยังส่วนอื่น เช่น ไปยังมดลูก หรือท่อนำไข่ สามารถสร้างผลเสียอย่างถาวรต่อท่อนำไข่ มดลูก และเนื้อเยื่อโดยรอบได้ เช่น ทำให้เป็นหมัน หรือมีบุตรยาก  หรืออาจท้องนอกมดลูก คือการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ภายนอกมดลูก และแน่นอนว่ามีความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนคลามายเดียผู้ชาย: ในผู้ชาย เมื่อได้รับเชื้อคลามายเดียไปแล้ว เชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปยังลูกอัณฑะ และท่อนำอสุจิ (epididymis) ทำให้เกิดการอักเสบของท่อนำอสุจิ ทำลายคุณภาพชีวิตเนื่องจากสามรถส่งผลเสียต่อภาวะข้ออักเสบจากการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่างๆ ร่วมด้วย

สาระน่ารู้โรคคลามายเดีย

  • การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นสำคัญ คือ ต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตน รวมทั้งตรวจซ้ำตามแพทย์แนะนำ
  • ใครที่เป็นโรคหนองในควรพาคู่นอนหรือ สามีและภรรยาไปตรวจรักษาด้วย เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ
  • หลังการรักษาโรคคลามายเดีย จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา โดยอาการ่างๆ ที่เป็นอยู่จะค่อยๆ หายไป ประมาณ 3-4 วันที่เข้ารับการรักษา
  • เมื่อทำการรักษาไปแล้ว แนะนำให้เข้ารับการตรวจซ้ำ 1 เดือนหลังจากที่ได้รับการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าหายสนิท

อัตราการติดเชื้อคลามายเดีย

อัตราการติดเชื้อของโรคคลามายเดีย (Chlamydia) เป็นโรคที่ได้รับการรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก โดยส่วนมาก เป็นผู้หญิงอายุน้อยระหว่าง 15-24 ปี  พบว่าจำนวน 1 คนใน 20 คน อาจติดเชื้อคลามายเดียได้ นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ยังเผยแพร่รายงานเมื่อมิถุนายน 2562 ที่บ่งชี้ว่า ในแต่วันมีผู้ป่วยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วันละล้านคนทั่วโลก โดยหนึ่งในนั้นคือ คลามายเดีย (Chlamydia) ที่อยู่ในอันดับต้นๆ

อย่างไรก็ตาม เชื้อคลามายเดีย ป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถป้องกันได้ และหาเป็นแล้วก็สามารถรักษาได้  แต่ก็กลับมาเป็นซ้ำอีกได้เช่นกัน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเอง ว่าจะดูแลสุขภาพชีวิตของตนเองดีแค่ไหน ส่วนสำคัญคือ เมื่อตรวจพบให้รีบรักษา

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า