หลายคนอาจมองว่า Oral Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก เป็นกิจกรรมทางเพศที่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีการสอดใส่โดยตรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ยังคงมีอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า Oral Sex ติด hiv ไหม หรือกการออรัลติดเอดส์ไหม เสี่ยงติดโรคอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร และควรป้องกันอย่างไรเพื่อให้ความสัมพันธ์ทางเพศปลอดภัยและมั่นใจมากยิ่งขึ้น Oral Sex คืออะไร? Oral Sex หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า “การใช้ปากในการกระตุ้นอวัยวะเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก” เป็นหนึ่งในรูปแบบของกิจกรรมทางเพศที่ไม่ใช่การสอดใส่โดยตรง แต่ยังคงมีความเสี่ยงในการติดต่อโรคจากคู่ของคุณได้เช่นเดียวกัน โดยทั่วไป Oral Sex แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่: Fellatio: การใช้ปากกระตุ้นอวัยวะเพศชาย Cunnilingus: การใช้ปากกระตุ้นอวัยวะเพศหญิง Anilingus (Rimming): การใช้ปากสัมผัสกับทวารหนัก กิจกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในความสัมพันธ์ของชายหญิง หรือเพศเดียวกัน และมักถูกมองว่าเป็น “เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยกว่า” เพราะไม่มีการสอดใส่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Oral Sex ก็ยังมีโอกาสแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ได้…
หากคุณกำลังจะเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใครใหม่หรือกำลังอยู่ในความเสี่ยง การดูแลสุขภาพทางเพศเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) คือหนึ่งในวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ไม่เพียงเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง แต่ยังรวมถึงคนที่คุณรักด้วย บทความนี้จะพาคุณไปรู้ว่า ก่อนตรวจควรเตรียมตัวอย่างไร ตรวจโรคอะไรบ้าง ตรวจเมื่อไหร่ถึงแม่น และต้องทำอย่างไรต่อหลังจากรู้ผล ทำไมต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์? การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ก่อนเริ่มความสัมพันธ์ทางเพศกับคนใหม่ ไม่ใช่แค่ “เพื่อความมั่นใจ” เท่านั้น แต่ยังเป็น การรับผิดชอบต่อสุขภาพของทั้งตัวเราเองและคู่ของเรา เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิดสามารถ ติดต่อได้แม้ไม่มีอาการใด ๆ เลย ในระยะแรก และคนจำนวนมากอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองกำลังแพร่เชื้ออยู่ 1. โรคติดต่อหลายชนิด “เงียบ” แต่แพร่เชื้อได้ ข้อมูลจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ระบุว่าโรคอย่างเช่น Chlamydia และ Gonorrhea (หนองในแท้/เทียม) กว่า 70% ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ ไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เช่นเดียวกับไวรัส HPV หรือเริมอวัยวะเพศ ที่สามารถถ่ายทอดผ่านผิวสัมผัส…
เคยไหม…ที่เราตัดสินใจผิดพลาดแค่ “ครั้งเดียว” แล้วต้องมานั่งลุ้นอีกหลายสัปดาห์ว่าจะติดเชื้อ HIV หรือเปล่า? อยากบอกว่า ทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องเสี่ยงแบบนั้นอีกแล้ว เพราะเรามีตัวช่วยที่สามารถ “ป้องกันไว้ก่อน” หรือ “หยุดเชื้อไว้ทัน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ PrEP และ PEP หลายคนยังสับสนว่า PrEP และ PEP ต่างกันยังไง ต่างกันตรงไหน? ใช้เมื่อไหร่? แบบไหนเหมาะกับตัวเอง? บทความนี้จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อให้คุณวางแผนป้องกันตัวเองได้อย่างมั่นใจ PrEP กับ PEP คืออะไร? PrEP และ PEP คือยาต้านไวรัส (Antiretroviral Drugs) ที่มีจุดประสงค์หลักเหมือนกัน คือการป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ต่างกันที่ “ช่วงเวลาในการใช้” และ “สถานการณ์ที่เหมาะสม” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกใช้ PrEP คืออะไร? PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาสำหรับ ป้องกัน HIV ก่อนมีความเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับคู่ที่ไม่ทราบสถานะ…
การติดเชื้อ HIV ซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทยเพราะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังคงต้องกินยาตลอดชีวิต ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละ 1095 คน โดยจะพบการติดเชื้อสูงในกลุ่มประชากรชายรักชาย กลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และกลุ่มประชากรชายหญิงตามลำดับ ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยมีวีธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ถุงยางอนามัย การรับยาต้านการติดเชื้อเชื้อ HIV หลังการสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง PEP (Post-exposure prophylaxis) ยาต้าน HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ PrEP (Pre-exposure prophylaxis) โดยปัจจุบันเรามีทางเลือกใหม่เพิ่มเติมให้สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ชอบทานยา และผู้ที่ลืมทานยาบ่อย ๆ โดยการใช้ยา PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) คืออะไร? PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) คือ การฉีดยาต้านก่อนสัมผัสเชื้อ HIV ซึ่งในปัจจุบันปัจจุบันกระทรวงสาธรณสุขประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า Apretude โดยทั่วไปเราอาจจะรู้จักกันในชื่อเรียกอีกอย่างนึงว่า CAB…
ยา PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ PrEP ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าการป้องกัน HIV ไปทั่วโลก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (WHO) PrEP ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้สูงถึง 99% หากใช้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อ่านเพิ่มเติม : PrEP (เพร็พ) ยาป้องกันต้านเชื้อ hiv และ โรคเอดส์ คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ยา PrEP ทำงานอย่างไร? PrEP ทำงานโดยการยับยั้งกระบวนการเพิ่มจำนวนของเชื้อ HIV ในร่างกาย หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ยาจะลดโอกาสที่เชื้อจะเกาะตัวและแพร่กระจายเข้าสู่เซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน การรับประทาน PrEP อย่างถูกต้องและต่อเนื่องสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้สูงถึง 99% ความสำคัญของยา PrEP ในการป้องกัน HIV องค์การอนามัยโลก (WHO)…
แนะนำโรคไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร พร้อมบอกว่าเกิดจากอะไร จะรักษาได้แบบไหนบ้าง จะฉีดวัคซีนดีไหม และจะป้องกันการเกิดไวรัสตับอักเสบซีอย่างไร
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ทำไมถึงเป็น อันตรายหรือไม่ ควรที่จะรักษาและป้องกันอย่างไรให้สุขภาพดีขึ้น [ดูคำตอบ]
ทำความรู้จัก ไวรัสตับอักเสบเอคืออะไร ต่างจากไวรัสตับอักเสบอื่นอย่างไร เกิดได้อย่างไร และจะรักษาให้หายได้หรือไม่ ดูรายละเอียดได้ที่นี่
ทำความรู้จักกับตุ่ม PPE (Pruritic Papular Eruption in HIV) ดูสาเหตุการเกิด ลักษณะ การป้องกัน และวิธีรักษาอย่างละเอียด