Let’s play safe
Call Today : 083-534-4555, 02-006-8887
Room 314 , 246 Sukhumvit Rd, Khwaeng Khlong Toei, Bangkok
Open Hours
Open every day . 12:00 - 20:30

ไวรัสตับอักเสบ (Hepaptitis) เอ บี ซี ดี และอี สาเหตุ อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

โรคไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ ( Hepaptitis ) คือ โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธ์ โดยที่ร่างกายรับเอาเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคผ่านช่องทางการติดเชื้อต่างๆ เข้าสู่ร่างกายแล้วเชื้อจะทำให้การทำงานของตับผิดปกติ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นมี 2 รูปแบบคือ ภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ( Acute Hepatitis ) และภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ( Chronic Hepatitis )  ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติเมื่อตับสูญเสียหน้าที่ และหากไม่รีบรักษาหรือรักษาไม่ทันท่วงทีก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบ นั้น เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสตับอักเสบดี และไวรัสตับอักเสบอี โดยแต่ละชนิดสร้างอันตรายและความรุนแรงได้ไม่เท่ากัน และที่ต้องเฝ้าระวังและเป็นอันตรายมากที่สุด คือ ไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้มากที่สุด เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้จนทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด

ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด

ไวรัสตับอักเสบ มีทั้งหมด 5 ชนิด  คือ

  • ไวรัสตับอักเสบเอ ( Hepatitis A )
  • ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B )
  • ไวรัสตับอักเสบซี ( Hepatitis C )
  • ไวรัสตับอักเสบดี ( Hepatitis D )
  • ไวรัสตับอักเสบอี ( Hepatitis  E)

แต่เชื้อไวรัสที่สร้างปัญหาและทำร้ายสุขภาพของคนเรามากที่สุด คือ ไวรัสอักเสบบี ไวรัสอักเสบซี ที่เป็นเช่นนี้เพราะไวรัสทั้ง 2 ชนิด มีผลทําให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและมีมะเร็งตับ ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

อาการไวรัสตับอักเสบ

อาการและอาการแสดงของไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ความรุนแรงขึ้นกับชนิดและประเภทการติดเชื้อซึ่งแตกต่างกันดังนี้

  1. ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกาย หลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปในกระเพาะอาหารและฝังตัวในลำไส้ หลังรับเชื้อประมาณ 1-2  สัปดาห์จะเริ่มมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่เรารู้จักกันในโรค “ดีซ่าน” ซึ่งพบในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการมากกว่า ส่วนใหญ่เชื้อนี้จะระบาดในที่ชุมชนแออัดที่มีการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดร่วมกัน
  2. ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อทางสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง การสัมผัสบาดแผลสู่บาดแผล จากแม่ที่ตั้งครรภ์สู่ลูก ซึ่งสมัยอดีตยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ แต่การติดเชื้อโรคนี้พบว่า คนไทยร้อยละ 3 มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแฝงอยู่ในร่างกายแต่ไม่ก่อโรค และในระยะยาวหากเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับตามมาถ้าหากไม่รีบรักษาให้หายขาดเมื่อตรวจพบ ซึ่งอาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี จะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการท้องเสีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ  ปัสสวาะสีเข้ม แต่อุจจาระสีซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง
  3. ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)  เกิดจากการรับเลือดหรือการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น การสัก การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในรายที่ติดยาเสพติด เชื้อนี้ไม่ค่อยแสดงอาการมากนักแต่จะกระตุ้นให้เกิดผังผืดสะสมที่ตับจนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด
  4. ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D) เป็นไวรัสที่แฝงมากับไวรัสตับอักเสบบี ไม่ค่อยก่อโรคและความผิดปกติมากนัก เนื่องจากเป็นไวรัสที่ก่อโรคไม่สมบูรณ์ แต่จะกระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน เป็นๆ หายๆ ได้
  5. ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E) ไวรัสชนิดนี้ ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน มีอาการตัวเหลือง ตัวเหลืองได้ ผู้ป่วยจะตัวเหลืองตาเหลืองนานเป็นสัปดาห์ ส่วนใหญ่เชื้อนี้จะอยู่ในสัตว์ เช่น หมู วัว เมื่อคนกินเนื้อสุกๆ ดิบๆ เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายก่อโรคทันที

วิธีรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบนั้น จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายด้วยการเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุแล้ว แพทย์จะสั่งให้ยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ และรักษาอาการเจ็บป่วยตามอาการ เช่น ในบางรายที่เริ่มติดเชื้อและยังไม่มีการทำลายตับอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาแต่ต้องมาตรวจเลือดซ้ำเพื่อประเมินการทำงานของตับเป็นระยะ ส่วนรายที่ติดเชื้อรุนแรงและเชื้อเริ่มทำลายตับอาจต้องเข้ารับการนอนรักษาในโรงพยาบาล และ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อลดการทำงานของตับ เป็นต้น

การป้องกันไวรัสตับอักเสบ

การป้องกันที่ดีที่สุด เริ่มจากวัยเด็ก คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สมบูรณ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและการวัคซีนป้องกันโรคในเด็ก ซึ่งโดยปกติหากร่างกายเคยได้รับวัคซีนหรือเคยได้รับเชื้อในปริมาณเล็กน้อย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้เอง สิ่งที่ทุกคนต้องทำ คือ การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและตรวจร่างกายประจำปี หากพบสิ่งผิดปกติให้รับมาพบแพทย์ทันที

โรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ และสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคในรายที่ยังไม่เป็นโรคได้ หากมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าจะเป็นโรคให้รีบมาพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาก่อนที่เชื้อจะแพร่กระจายและทำลายตับต่อไป

ไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากอะไร ?

ไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเอ จากผู้ที่ติดเชื้อ ผ่านการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ปรุงให้สุก หรือไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด ทำให้ได้รับเชื้อ โดยเชื้อมีระยะการฟักตัวของเชื้อจะอยู่ที่ 2-4 สัปดาห์ ก่อนจะมีอาการแสดงออกมา เช่น มีไข้อ่อน ๆ รู้สึกเหนื่อยล้าไม่สบายตัว ไม่อยากอาหาร มีผดผื่นคัน ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องผูก ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ คันตามผิวหนัง เป็นต้น

วิธีตรวจหาไวรัสตับอักเสบเอ

การตรวจหาไวรัสตับอักเสบเอ สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานโรคเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ( HAV-specific Immunoglobulin Antibody ) และเมื่อตรวจพบการรักษาจะเป็นไปตามอาการ ไม่มีวิธีการที่เด็ดขาดในการรักษาไวรัสตับอักเสบเอ รักษาตามอาการเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นเอง และจะฟื้นตัวภายในเวลาประมาณ 2 เดือน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน

รู้จักไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากพบประชากรไทยเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายจำนวนมากทั้งที่มีการรณรงค์ให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีมาโดยตลอด  ในประเทศไทยก็มีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบ บี สูงประมาณร้อยละ 6-10 ของประชากรทั้งหมด โดยผลกระทบของการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือนำไปสู่โรคร้าย เช่น  ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ

ประเภทของไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี แบ่งออกป็น 2 ประเภทด้วยกัน  คือ

  1. ไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน โดยลักษณะจะเป็นแล้วหายภายใน 6 เดือน หลังจากที่ได้รับเชื้อ ประมาณ 2 – 3 เดือน จะมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว และหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จะมีอาการตับอักเสบ เกิดภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง หากเข้าพบแพทย์ตรวจเช็คจะพบว่ามีค่าตับสูงกว่าปกติ เมื่อได้รับการดูแลอาการจะดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์ โดยนที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาป้องกันและเยียวยา
  2. ไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง จะเป็นยาวนานกว่า 6 เดือน ในกรณีที่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้เต็มที่  ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้ได้ ก็จะกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับต่อไป

อาการไวรัสตับอักเสบบี

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ ไม่มีอาการแสดงเฉพาะ ส่งผลให้การสังเกตอาการเป็นไปได้ยาก เนื่องจากบางรายก็ไม่สามารถทราบได้ว่า มีโรคไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกาย ในส่วนของอาการแสดงที่มักเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดตามข้อต่อ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาการปวดที่ตับหรือบริเวณด้านบนขวาของช่องท้อง เหนื่อยล้าได้ง่าย

ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม

ความรุนแรงของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเชื้อ มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และร้ายแรงจนอาจ กลายเป็นมะเร็งตับได้  ซึ่งจากสถิติข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อน

ไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากอะไร

เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ อันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) การอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย ซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อ โดยมักเกิดจากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก แม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีจะทำให้เด็ก ที่เกิดติดเชื้อระหว่างการคลอด และการติดเชื้อการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน

การติดสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งที่มาจากร่างกายเช่น แปรงสีฟัน เข็มฉีดยา มีดโกน ติดต่อได้ทางเลือด เช่น การได้รับบริจาคเลือด  ติดต่อผ่านเข็มฉีดยา การฝังเข็ม หรืออุปกรณ์ที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมไปถึงติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน

วิธีรักษาไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันพัฒนาการทางการแพทย์สามารถรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งช่วย ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามรุนแรงต่อไปได้ โดยต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง เข้ารับการตรวจเลือดสม่ำเสมอ และผู้ป่วยเองก็จำเป็นจะต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเสมอ เช่น  ไม่อย่ารับประทานยาโดยที่ไม่จำเป็น ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย งดดื่มเหล้า เพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค ตรวจสุขภาพ ร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง

ไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม

ไวรัสตับอักเสบบี สามารถหายได้เอง แต่ในกรณีที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง จำเป็นต้องรักษา และควบคุมดูแล เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว สามารถแบ่งการรักษาเป็นระยะ ดังนี้

  1. ระยะสงบ ในระยะนี้แพทย์จะทำการติดตามผมเลือดเป็นระยะๆ ทุกๆ 3-6 เดือน เพื่อวางแผนการรักษาหากมีอาการอักเสบ
  2. ระยะตับอักเสบ หากตรวจพบมีอาการอักเสบของตับแล้วจะมีการตรวจหาปริมาณไวรัส และให้ยาต้านไวรัสรับประทาน
  3. ระยะที่มีตับแข็งหรือระยะที่มีมะเร็งตับ แพทย์จะพิจารณาใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน พร้อมกับการแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพ

ไวรัสตับอักเสบ ซี

ไวรัสตับอักเสบซี เป็นอีกหนึ่งเชื้อไวรัสที่ส่งผลเรื้อรัง เป็นโรคที่พบได้บ่อยพอสมควรสำหรับคนไทย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย แต่จะทราบได้จากการตรวจร่างกายแล้วพบค่าการอักเสบของตับผิดปกติ หรือตรวจเลือดแล้วพบว่ามีการติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบซี เกิดจากอะไร

ไวรัสตับอักเสบซีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี สามารถติดเชื้อผ่านการรับเลือด หรือสัมผัสรับเลือดโดยตรงเช่น การสัก การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน  การมีเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไวรัสตับอักเสบซี ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นม การจามหรือไอ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ แต่จะทำให้การอักเสบเรื้อรังของตับ เกิดพังผืดสะสมในตับจนเข้าสู่ภาวะตับแข็งในที่สุด

วิธีการตรวจหาไวรัสตับอักเสบซี

การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถตรวจได้ทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเป็นภูมิที่ระบุได้ว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่  ในกรณีที่ผลออกมาเป็นบวก นั้นแสดงให้เห็นว่าว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมาก่อน  นอกจากนี้ยังมีการตรวจวิธีอื่นๆ เช่น การตรวจนับปริมาณไวรัส การตรวจการทำงานของตับเพื่อดูค่าการอักเสบของตับ (AST, ALT) และการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัย โดยจะทำในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เป็นต้น ปัจจุบันมีการรักษา สามารถทำให้หายขาดได้ในผู้ป่วยหลายๆ ราย

ไวรัสตับอักเสบ ดี

ไวรัสตับอักเสบดี พบได้น้อยมากในประเทศไทย เป็นเชื้อไวรัสที่มักแฝงมากับไวรัสตับอักเสบ บี ส่วนใหญ่พบในกลุ่มประเทศแถบยุโรปมากกว่าในประเทศไทย ด้วยลักษณะของไวรัสตัวนี้เป็น ไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นไวรัสที่มีความพิการในตัวเอง จะมีฤทธิ์ต่อเมื่ออาศัยส่วนประกอบของไวรัสตับอักเสบบี ในการแบ่งตัว

ไวรัสตับอักเสบ อี

ไวรัสตับอักเสบอี ถือเป็นไวรัสชนิดใหม่ ที่มีการตรวจพบในระยะหลังๆ สามารถพบในประเทศไทยค่อนข้างน้อย มักก่อให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ตัวเหลืองตาเหลือง โดยมีระยะเวลาการเกิดโรคค่อนข้างนานเป็นอาทิตย์ เฉลี่ย 2-3 เดือน พบได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หมู กวางและสัตว์อื่นๆ โดยมากติดเชื้อจาก สัมผัสหรือรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ซึ่งเป็นเหตุของการติดเชื้อ

คำถามที่พบบ่อย

ไวรัสตับอักเสบชนิดไหนอันตรายที่สุด

โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิดที่ก่อให้เกิดไวรัสตับตับเรื้อรังก็คือ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสตับอักเสบดี โดยที่ไวรัสตับอักเสบดี มักไม่พบเจอในประเทศไทย ดังนั้นความอันตรายของไวรัสตับอักเสบในประเทศไทยคือ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งหากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง กลายเป็นโรคแข็งตับ และโรคมะเร็งตับในที่สุด

เมื่อเป็นโรคไวรัสตับอักเสบควรทำอย่างไร

หากมีการตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม สิ่งที่ควรปฎิบัติคือ การเข้ารับการรักษา ระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด และปฎิบัติตามที่แพทย์แนะนำ อาทิ รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง

พร้อมทั้งเข้ารับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบ เพื่อป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ นอกจากนี้ควรหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการ มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเว้นอาหารประเภทไขมันสูง  เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม เป็นต้น

หากตรวจพบว่าได้รับเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ ไม่ว่าจะไวรัสตับอักเสบชนิดใดอย่าเพิกเฉยต่อโรคนี้ เข้ารับการักษาอย่างจริงจัง เพราะไวรัสตับอักเสบบางชนิดส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งตับที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

icon email

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า